วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

โลกาภิวัตน์กับการเมืองใหม่ในสังคมไทย

          ความเคลื่อนไหวเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสังคมไทย โดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ดำรงอยู่นั้น ก่อให้เกิดผลกระทบกับมิติการเมืองของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม หากแต่การเปลี่ยนแปลงไปสู่เป้าหมายที่กลุ่มคาดหวังนั้น ก็ถูกกระแสโลกโลกาภิวัตน์ติดตามตรวจสอบและบางสถานะสร้างข้อจำกัดกับการเปลี่ ยนแปลงได้เช่นกัน


          โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ประเทศฝ่ายตะวันตกติดตามสถานการณ์ทางการเมือ งในประเทศไทยและพากันรายงานข่าวไปในทิศทางต่าง ๆ โดยที่แต่ละประเทศหลักเหล่านั้นมีสมมุติฐานความเป็นประชาธิปไตยบนตัวแบบตะวั นตกและมองเฉพาะมิติเชิงองค์กรหรือรูปแบบของประชาธิปไตยที่เป็นทางการ ย่อมตีความและเข้าใจเหตุการณ์ทางการเมืองไทยไปแบบหนึ่ง
ตัวอย่างเช่นสื่อทางสหรัฐและยุโรปมักมองว่าเหตุการณ์เคลื่อนไหวของกล ุ่มพันธมิตรฯ มีความต่อเนื่องมาจากการปฏิวัติครั้งที่แล้วและยังทำการเปลี่ยนแปลงไม่สำเร็ จจึงได้รณรงค์อย่างต่อเนื่อง หากแต่เป็นการเคลื่อนไหวที่มีมิติความรุนแรงผสม บางสื่ออาจก้าวไปถึงผู้ที่สนับสนุนอยู่เบื้องหลังซึ่งในสังคมไทยเองไม่มีใคร กล่าวรายงานเช่นนั้นได้
          ต่างชาติมองว่าประเทศไทยเองเป็นตัวแบบของประเทศที่มีความสำเร็จในการ พัฒนาประชาธิปไตยจากสภาวะเผด็จการทหารไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยแนวทางสากล ดังนั้นหากประเทศไทยจะก้าวถอยหลังไปสู่ระบบเผด็จการรูปแบบต่าง ๆ เช่น ใช้กำลังปฏิวัติหรือเป็นรูปแบบการปกครองโดยเผด็จการกลุ่มชนต่าง ๆ แล้ว ประชาคมโลกที่เขาอ้างถึงก็จะไม่สามารถยอมรับได้และจะมีการตอบโต้ประเทศไทยถึ งขั้นเป็นแนวทางเดียวกับที่ได้กระทำกรณีเผด็จการพม่าอย่างไรอย่างนั้น
ผ ู้เขียนเห็นว่าในด้านหนึ่งแล้วการวินิจฉัยของนานาชาติต่อความเป็นประชาธิปไต ยหรือปัญหาความไม่เป็นประชาธิปไตยในสังคมไทยนั้นไม่ควรจะตั้งอยู่บนสมมติฐาน การวิเคราะห์ปัญหาเฉพาะการมองรูปแบบของประชาธิปไตยที่เป็นทางการ เช่น มองแค่รัฐใดมีการเลือกตั้ง มีพรรคการเมือง มีรัฐสภา และดำเนินกิจกรรมทางการเมืองไปต่อเนื่องโดยไม่สดุดหยุดลงด้วยวิธีการนอกระบบ แล้ว แปลว่าเป็นรัฐที่มีประชาธิปไตย
          หากแต่ควรมองว่าปัญหาประชาธิปไตยในเนื้อหาของรัฐนั้น ๆ มีตัวแปรหรือปัจจัยเหตุมาจากสิ่งใดและที่สำคัญควรช่วยคิดแก้ปัญหาด้วยว่าจะส นับสนุนรัฐนั้น ๆ ให้แก้ปัญหาในด้านเนื้อหาได้อย่างไร เช่น ในกรณีของรัฐไทย ผู้เขียนเห็นว่าเป็นปัญหาการรวมศูนย์ผูกขาดเชิงโครงสร้างอำนาจ เศรษฐกิจ และการเมือง ของคนกลุ่มน้อยที่เข้ามาแสวงประโยชน์จากกลไกประชาธิปไตย โดยเฉพาะจากระบบการเลือกตั้ง ทำให้เมื่อใช้กลไกดังกล่าวในสภาพที่โครงสร้างถูกผูกขาด กลุ่มทุนมักจะได้อำนาจการเมืองไปครอบครอง
          ถ้าหากมีมุมมองหรือแนวทางการวิเคราะห์ปัญหาเช่นนี้แล้วเชื่อว่าสื่อต ่างชาติรวมถึงชุมชนนานาชาติจะเกิดความเข้าใจทันทีว่าเหตุใดการปฏิวัติเมื่อป ีที่ผ่านมา ทำไมประชาชนพากันนำดอกไม้ไปมอบให้คณะปฏิวัติโดยไม่มีการต่อต้านหรือประท้วงจ ากกลุ่มชนเลยหรือหากมีก็น้อยมาก
แต่อย่างไรก็ตามภายใต้หนึ่งขวบปีของการปฏิวัติ คณะผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายมิได้ตั้งใจหรือพยายามจะแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง ทำแค่เพียงแก้เกณฑ์หรือวิธีการจุกจิกในเรื่องการเลือกตั้งและที่มาต่าง ๆ ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แถมยังไม่เข้าใจตรรกของทฤษฎีเชิงโครงสร้างที่ว่า บุคคลเป็นผลพวงของโครงสร้าง คณะผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายจึงมุ่งเพียงทำลายล้างและสังหารตัวบุคคลคนเดียวให้ ดับดิ้นลงไปโดยไม่แตะปัญหาเชิงโครงสร้าง
          ผลลัพธ์คือเมื่อโครงสร้างดำรงอยู่พอจัดให้มีการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ ่ง ตัวแทนราษฎรที่ประชาชนเลือกเข้ามาจึงมีลักษณะในความสัมพันธ์เชิงอำนาจไม่เปล ี่ยนแปลงไปจากเดิม หากใช้ตัวแปรนี้วิเคราะห์หรือประเมินการปฏิวัติแล้ว จะทราบคำตอบถึงประสิทธิผลของการปฏิวัติได้เป็นอย่างดี แถมสังคมไทยยังได้สภาวะใหม่อันเป็นผลพวงของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวคือ ความแตกแยกทางความคิดของผู้คนในสังคมอย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย
          ในวันนี้สถานการณ์อยู่ในสภาวะน่าวิตกเพราะต่างฝ่ายต่างมีการสร้างความชอบธรรม ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่กลุ่มมีความประสงค์ดีอยากให้รัฐไทยเปล ี่ยนแปลงไปสู่จุดมุ่งหมาย ดังกล่าว แต่ละกลุ่มสามารถใช้ความชอบธรรมของตนระดมประชาชนทั้งชนชั้นกลางและอื่น ๆ เข้าร่วมขบวนการรวมถึงมีความคิดในเชิงตรงข้ามกับอีกกลุ่มหนึ่งในลักษณะพร้อม ใช้ความรุนแรงอยู่ด้วย
สถาบันหรือองค์กรหลักในสังคมก็ถูกลากพานำไปสู่ความเป็นฝักฝ่ายทางแนว คิดและสภาวะความเป็นกลางถูกบีบบังคับให้เหลือน้อยลงเต็มที จะเห็นได้ว่าวุฒิภาวะขององค์กรต่าง ๆ หรือบุคลากรในองค์กรที่จะวิเคราะห์และแยกแยะปัญหาในเชิงเหตุผลหรือหาที่ว่าง สำหรับการใช้เหตุผลกลับถูกบดบังไปด้วยอคติความโกรธและความเชื่อมาอยู่เหนือเ หตุผลทั้งสองฝ่ายจึงมีข้อจำกัด มีความชอบธรรมและได้รับการยอมรับในความชอบธรรมคนละฐานกัน เช่น กลุ่มพันธมิตรฯ เองตั้งใจจะแก้ปัญหาในประเทศอันเนื่องมาจากปัญหาโครงสร้างดังกล่าวแล้วแต่ไม ่ประสบความสำเร็จในช่วงปฏิวัติที่ผ่านมา การรณรงค์รอบใหม่ได้รับความชอบธรรมในสังคมไทยเอง หากแต่การใช้กำลังยึดทำเนียบและสถานีโทรทัศน์กลับถูกกังขาจากนานาชาติอีกฝ่ายหนึ่งอ้างความชอบธรรมเรื่องการพิทักษ์ปกป้องระบอบประชาธิปไตย โดยละเว้นไม่พูดปัญหาเชิงโครงสร้างพยายามลากยาวรักษากติกาเรื่องตัวแทนและกา รเลือกตั้งซึ่งได้ได้การยอมรับจากมิติภายในบางส่วนและชุมชนนานาชาติต่างก็มอ งปัญหาพื้นผิวตรงกัน จึงได้รับการยอมรับจากนานาชาติ แต่ถูกปฏิเสธจากส่วนหนึ่งในสังคมไทยและมีสภาพเหมือนกับได้อำนาจแต่ไม่มีอำนา จในการปกครอง
          ด ังนั้น ประเทศไทยอยู่ในสภาวะที่ตีบตันทางการเมือง การแก้ไขปัญหาในระบบก็ไม่เกิดประสิทธิภาพ ไม่ได้รับการยอมรับจากอีกฝ่ายหนึ่ง ส่วนจะใช้วิธีการนอกระบบ ตรรกของโลกาภิวัตน์ก็จะเป็นตัวถ่วงลั้งทำให้แม้แต่จะคิดก็ล้มเหลวแล้ว สถานการณ์ต่อไปจึงน่าจะเป็นลักษณะทั้งสองฝ่ายยันกันทางยุทธวิธี และหากไม่สามารถก้าวพ้นสภาวะดังกล่าวได้ท้ายที่สุดรัฐไทยคงไม่พ้นสงครามกลางเมือง

ที่มา http://witayakornclub.wordpress.com/2008/11/06/gol/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น