วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วัฒนธรรมและประเพณีไทย

            การที่มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นสังคมขึ้นมาย่อมต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของกลุ่มมีระเบียบแบบแผนที่ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มให้อยู่ในขอบเขตที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสงบสุข สิ่งที่เป็นเครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรมของกลุ่มคนนี้เราเรียกว่า "วัฒนธรรม" ดังนั้น วัฒนธรรมจึงเปรียบเสมือนอาภรณ์ห่อหุ้มร่างกายตกแต่งคนให้น่าดูชม วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ต้องควบคู่กับคนเสมอไป 


            "วัฒนธรรมมีความหมายครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง ที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง มนุษย์ได้คิดสร้างระเบียบกฎเกณฑ์ใช้ในการปฏิบัติ การจัดระเบียบตลอดจนระบบความเชื่อ ค่านิยม ความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการควบคุมและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ"


             "วัฒนธรรมคือความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ หรือลักษณะประจำชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในสังคม ซึ่งไม่เพียงแต่จะหมายถึงความสำเร็จในด้านศิลปกรรมหรือมารยาททางสังคมเท่านั้น  กล่าวคือ ชนทุกกลุ่มต้องมีวัฒนธรรม ดังนั้น เมื่อมีความแตกต่างระหว่างชนแต่ละกลุ่ม ก็ย่อมมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมนั่นเอง เช่น ชาวนาจีน กับชาวนาในสหรัฐอเมริกา ย่อมมีความแตกต่างกัน


             "วัฒนธรรมคือสิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงหรือผลิตสร้างขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีชีวิตและส่วนรวม วัฒนธรรมคือวิถีแห่งชีวิตของมนุษย์ในส่วนร่วมที่ถ่ายทอดกันได้ เรียนกันได้ เอาอย่างกันได้ วัฒนธรรมจึงเป็นผลผลิตของส่วนร่วมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนสมัยก่อน สืบต่อกันมาเป็นประเพณี วัฒนธรรมจึงเป็นทั้งความคิดเห็นหรือการกระทำของมนุษย์ในส่วนร่วมที่เป็นลักษณะเดียวกัน และสำแดงให้ปรากฏเป็นภาษา ความเชื่อ ระเบียบประเพณี


             พระราชบัญญัติ วัฒนธรรมแห่งชาติพุทธศักราช 2485 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2486 ได้ให้ความหมายของวัฒนธรรมไว้ดังนี้


             วัฒนธรรม คือ ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน


              วัฒนธรรมจึงเป็นลักษณะพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ ทั้งบุคคลและสังคมที่ได้วิวัฒนาการต่อเนื่องมาอย่างมีแบบแผน แต่อย่างไรก็ดีมนุษย์นั้นไม่ได้เกาะกลุ่มอยู่เฉพาะในสังคมของตนเอง ได้มีความสัมพันธ์ติดต่อกับสังคมต่างๆ ซึ่งอาจอยู่ใกล้ชิดมีพรมแดนติดต่อกัน หรือยู่ปะปนในสถานที่เดียวกันหรือ การที่ชนชาติหนึ่งตกอยู่ใต้การปกครองของชนชาติหนึ่ง มนุษย์เป็นผู้รู้จักเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ จึงนำเอาวัฒนธรรมที่เห็นจากได้สัมพันธ์ติดต่อมาใช้โดยอาจรับมาเพิ่มเติมเป็นวัฒนธรรมของตนเองโดยตรงหรือนำเอามาดัดแปลงแก้ไขให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิม


              ในปัจจุบันนี้จึงไม่มีประเทศชาติใดที่มีวัฒนธรรมบริสุทธิ์อย่างแท้จริง แต่จะมีวัฒนธรรมที่มีพื้นฐานมาจากความรู้ ประสบการณ์ที่สังคมตกทอดมาโดยเฉพาะของสังคมนั้น และจากวัฒนธรรมแหล่งอื่นที่เข้ามาผสมปะปนอยู่ และวัฒนธรรมไทยก็มีแนวทางเช่นนี้ 

สภาพปัญหาสังคม





ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=NQLHWpgK9WM&feature=related

ค่านิยมของสังคมไทย

          ลักษณะค่านิยมของสังคมไทยในปัจจุบัน สภาพสังคมไทยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ตามสภาพสิ่งแวดล้อมและกาลเวลา มีการติดต่อค้าขาย สัมพันธ์ทางการทูตกับต่างประเทศ มีทุนให้ครู-อาจารย์ ไปดูงานต่างประเทศ การช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยีแก่สถาบันการศึกษา ทำให้มีการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ค่านิยมตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมของสังคมไทยเปลี่ยนแปลไปตามสภาพของสังคมด้วยดังนี้


๑. ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา เช่นเดียวกับในอดีต มีการศึกษาพระธรรมวินัยอย่างลึกซึ้ง ตลอดจนมีการปรับปรุงแก้ไขกฎเกณฑ์ข้อบังคับของสงฆ์ ประชาชนมีบทบาทตรวจสอบพฤติกรรมทางวินัยสงฆ์ได้ เพื่อป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากพระพุทธศาสนา
๒. เคารพเทิดทูลสถาบันพระมหากษัตริย์ สังคมไทยต่างกับสังคมชาติอื่น กษัตริย์ไทยเปรียบเสมือนสมมติเทพ คอยดูแลทุกข์สุขของประชาชน ทำนุบำรุงประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองในทุกๆด้าน จึงเป็นศูนย์รวมจิตใจพระองค์เป็นทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตคนไทย เป็นที่เคารพเทิดทูนของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง
๓. เชื่อในเรื่องเหตุผล ความเป็นจริง และความถูกต้องมากขึ้นกว่าในอดีต ในสภาวะของเหตุการณ์ต่างๆ ปัจจุบันสังคมไทยรู้จักคิดใช้ปัญญามีเหตุผลมากขึ้น เช่น ได้ออกกฎหมายเพื่อให้ความคุ้งครองเจ้าของความคิด ไม่ให้ใครลอกเลียนแบบได้ เรียกว่า “ ลิขสิทธิ์ทางปัญญา ” เป็นต้น
๔. ค่านิยมในการศึกษาหาความรู้ ปัจจุบันสังคมไทยต้องแข่งขันกันตลอดเวลา การจะพาตนเองให้รอดจากปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมได้จำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถที่โดดเด่นจึงเป็นสิ่งที่คนไทยในสังคมปัจจุบันต้องเสาะแสวงหา
๕. นิยมความร่ำรวยและมีเกียรติ สังคมไทยในปัจจุบันให้ความสำคัญเรืองความร่ำรวยและเงินทอง เพราะมีความเชื่อที่ว่าเงินทองสามารถบันดาลความสุขตอบสนองความต้องการของคนได้
๖. มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนไทยทุกคนกล้าตัดสินใจและกล้าแสดงออกทางความคิดและการกระทำ มีบุคลิกภาพที่เหมาะสมที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้
๗. ชอบแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ลักษณะกลัวการเสียเปรียบ กลัวสู้เพื่อนไม่ได้ เพื่อการอยู่รอดจึงต้องทำการแย่งชิงแสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเอง
๘. นิยมการบริโภค นิยมบริโภคของแพง เลียบแบบอย่างตะวันตก รักความสะดวกสบาย ใช้จ่ายเกินตัวเป็นการนำไปสู่การมีหนี้สินมากขึ้น
๙. ต้องทำงานแข่งกับเวลา ทุกวันนี้คนล้นงาน จึงต้องรู้จักกำหนดเวลา การแบ่งแยกเวลาในการทำงาน การเดินทางและการพักผ่อนให้ชัดเจน
๑o. ชอบอิสระไม่ชอบอยู่ภายใต้อำนาจของใคร ไม่ชอบการมีเจ้านายหลายคน ในการทำงานมักประกอบอาชีพอิสระ เปิดกิจการเป็นของตนเอง
๑๑. ต้องการสิทธิความเสมอภาคระหว่างหญิงกับชายเท่าเทียมกัน หญิงไทยในปัจจุบันจะมีความคล่องแคล่ว สามารถบริหารงานไดเช่นเดียวกับผู้ชายเป็นที่พึ่งของครอบครัวได้ ภรรยาจึงไม่ใช่ช้างเท้าหลังอีกต่อไป
๑๒. นิยมการทดลองอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงาน ซึ่งเป็นการเลียนแบบวัฒนธรรมตะวันตก ที่มีความเจริญทางวัตถุมากกว่าจิตใจ ผู้ใหญ่ควรทำตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชน เหมาะสมกับศีลธรรมจรรยา
๑๓. นิยมภาษาต่างประเทศในยุคโลกาภิวัตน์ ปัจจุบันภาษาต่างประเทศมีความสำคัญและจำเป็นมาก เพราะต้องใช้ในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจและเทคโนโลยีใหม่ๆ ตำราหรืออินเตอร์เน็ตมีความจำเป็น ต้องมีความรู้ทางภาษาต่างประเทศ หากไม่มีก็ยากต่อการศึกษาและนำไปใช้

โลกหลังสังคมฐานความรู้กับบริบทสังคมไทย

          ในอดีตนั้นฝ่ายรัฐเป็นผู้มีอำนาจในการยึดกุมและการกำหนดเนื้อหาสาระของข้อมูลข่าวสารไว้เพียงฝ่ายเดียว และใช้วิธีการสื่อสารแบบทางเดียว แต่ว่าปัจจุบันกระบวนการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวกมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้งประชาชนทั่วไปได้สร้างชุมชนเรียนรู้ออนไลน์ ผ่านทางอินเตอร์ เช่น ปัจจุบันมีการใช้ บล็อก (Blog) เป็นฐานข้อมูลในการบันทึก และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน รวมทั้งให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นข้อเท็จจริงในปัจจุบัน เช่น กรณีของ GT 200 เป็นต้น ตลอดจนความรวดเร็วของการรับรู้ของประชาชนและสื่อมวลชน ทำให้มีกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของการบริหารงานของรัฐบาลจากภาคประชาชนและชุมชนออนไลน์เป็นเบื้องต้น ก่อนที่จะได้มีการสื่อสารให้สาธารณชนทราบและอีกหลายๆ กรณี 
            แนวคิดเกี่ยวกับโลกหลังสังคมฐานความรู้นั้นหากพิจารณาให้ดีแล้ว สังคมไทยและประชาชนยังไม่ได้ก้าวผ่านช่วงของสังคมฐานความรู้ แต่หากว่ามีการเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างรวดเร็วจนทำให้ประชาชนและสังคมไทยตั้งรับไม่ทัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และประเด็นเกี่ยวกับการต่อสู้ทางอุดมการณ์ประชาธิปไตย และความรู้ความเข้าใจในระบบประชาธิปไตยที่แท้จริง ประชาชนโดยทั่วไปยังไม่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ฐานความรู้และชุดความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับประชาธิปไตยคนละชุดกัน ทำให้เกิดความแตกแยกทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง รวมทั้งกระบวนการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางด้านการเมืองของประชาชนก็แตกต่างกัน ซึ่งข้อมูลข่าวสารทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมนั้นประชาชนได้รับรู้ผ่านช่องทางต่างๆ ซึ่งเป็นชุดข้อมูลของคนละฝ่ายกัน 
              ในบริบททางสังคมและการเมืองไทยในปัจจุบันนั้น ประชาชนไม่ได้อยู่ในฐานะของการเป็นผู้รับข่าวสารเพียงฝ่ายเดียวเหมือนอย่างเช่นอดีตที่ผ่านมา ทำให้การสื่อสารภาคประชาชนมีมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นวิทยุชุมชน สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย TPBS ซึ่งถือว่าเป็นสื่อทางเลือก สื่อสาธารณะที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและเข้ามามีส่วนร่วมได้ รวมทั้งชุมชนออนไลน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (web board) ต่างๆ ที่เป็นการเปิดพื้นที่ทางสังคม (Social Space) ให้กับประชาชนได้มีพื้นที่ในการแสดงออก แสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการพัฒนาประเทศ ทำให้เกิดมิติของการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของภาคประชาชนผ่านทางช่องทางต่างๆ ดังกล่าว 
              แนวคิดเกี่ยวกับโลกหลังสังคมฐานความรู้ที่ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ โลกพลิกโฉม : ความมั่งคั่งในนิยามใหม่นั้นว่า โลกหลังสังคมฐานความรู้เป็นโลกที่เน้นในเรื่อง "กัลยาณมิตร" มิใช่เพียงแค่ "พันธมิตร" เป็นโลกที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบปฏิสัมพันธ์ของผู้คนจาก "ต่างคนต่างปิด" ไปสู่ "ต่างคนต่างเปิด" เป็นโลกที่ก้าวเลยความคิดของ "การแข่งขัน" ไปสู่ "การร่วมสร้างสรรค์" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "การร่วมรังสรรค์ทางสังคม" ไม่ใช่ "การร่วมรังสรรค์ในเชิงพาณิชย์" เพียงอย่างเดียว เป็นโลกที่ภูมิปัญญาได้พัฒนาก้าวล่วงปริมณฑลของ "ทรัพย์สินทางปัญญา" สู่ "ภูมิปัญญามหาชน" โลก "หลังสังคมฐานความรู้" เป็นโลกที่เปลี่ยนวิถีชีวิตมนุษย์ จาก "การพึ่งพิง" ไปสู่สองโลกที่เสริมกันระหว่าง "ความเป็นอิสระ" และ "การพึ่งพาอาศัยกัน" ซึ่งผู้เขียนเห็นว่ามีความสอดคล้องกับแนวคิดของ ดนัย จันทร์เจ้าฉาย เรื่อง กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว ที่ได้กล่าวถึง การดำเนินธุรกิจที่มีคุณธรรม รับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งจิตอาสา ธุรกิจสีขาว สังคมสีขาว องค์กรสีขาวที่เน้นการทำงานแบบร่วมมือและสร้างสรรค์ แบ่งปันซึ่งกันและกัน 
              ดังนั้น จากที่ได้กล่าวมาบริบทสังคมการเมืองไทย แม้จะยังไม่ก้าวผ่านสังคมฐานความรู้ไปสู่หลังสังคมฐานความรู้ แต่ทำให้เห็นถึงพัฒนาการของพลังอำนาจของประชาชนที่มีเพิ่มมากขึ้นในด้านต่างๆ เช่น การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านทางช่องทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย การมีพื้นที่ทางสังคมในการแสดงความคิดเห็นทางสังคมและการเมือง ตลอดจนชุมชนออนไลน์ที่ได้รวมตัวกันเป็นเครือข่ายอย่างไม่เป็นทางการในการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ รวมทั้งความโปร่งใสของการบริหารงานของรัฐบาล ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านจากสังคมฐานความรู้ไปสู่โลกหลังสังคมฐานความรู้ต่อไป

เศรษฐกิจกับสังคมไทย หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

          การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้


          กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา


          คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน


          คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กันดังนี้
                         ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลติ และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
                         ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
                         การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล


           เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
                        เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
                        เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต


           แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี

ชีวิตของมนุษย์จะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบ ๓ อย่างคืออะไรบ้าง

          ตามที่กล่าวมานี้ก็พอจะสรุปให้เห็นได้ว่าชีวิตของมนุษย์โดยทั่วไปนั้น จะต้องเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบ 3 อย่างที่มีคว ามสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ได้ คือ โครงสร้างสังคม ระบบเศรษฐกิจ และระบบความเชื่อในเรื่องของจักรวาล ความสัมพันธ์อย่างได้ดุลระหว่างองค์ประกอบทั้ ง 3 อย่างนี้ จะเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมมนุษย์ดำรงอยู่ได้ทั้งความต้องการทางวัตถุและด้านจิตใจ ดังนั้นในการเสนอให้เห็นภา พพจน์ทางสังคมและวัฒนธรรมไทยในที่นี้ จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับองค์ประกอบทางสังคมและวัฒนธรรมทั้งสามอย่างที่กล่าวมานี้เป็นสำคัญ 


โครงสร้างสังคม


          สังคมไทยเป็นสังคมที่มีทั้งเหมือนและแตกต่างกันกับสังคมในประเทศอื่นๆ ทั่วโลกที่ว่าเหมือนกันก็คือ เป็นสังคมมนุษย์เหมือน กันแต่ละสังคมต่างก็เกี่ยวข้องกับเรื่องของโครงสร้างสังคม ระบบทางเศรษฐกิจ และความนึกคิดในเรื่องจักรวาลและระบบความเชื่อเหมือน< WBR>กัน แต่ที่ต ่างกันก็เนื่องมาจากการอยู่ในตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน การปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมดังกล่าวทำให้มีรูปแบบทางวัฒนธรรมแตกต่างไปจากสังคมอื่น ๆ เพราะฉะนั้นการที่จะทำความเข้าใจถึงลักษณะโครงสร้างสั งคม และรูปแบบทางวัฒนธรรมของไทยให้เกิดภาพพจน์ขึ้นอย่างเข้าใจนั้น จำเป็นต้องกล่าวถึงสภาพภูมิศาสตร์และความเป็นมาทางประ วัติศาสตร์เป็นพื้นฐานเสียก่อน 


เศรษฐกิจ


          กลุ่มชนต่างชาติที่สำคัญที่ทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจเข้าสู่ชนบทในระดับเมืองเล็ก ๆ ที่เป็นศูนย์กลางของท้องถ ิ่นก็คือพวกคนจีน คนจีนเข้ามาเมืองไทยเป็นเวลานานแล้ว ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่ทว่าตั้งหลักแหล่งจำกัดอยู่เฉพาะใน เมืองใหญ่ ๆ เท่านั้น โดย มีอาชีพการค้าขายและรับจ้างเฉพาะบางอย่าง เช่นงานช่างฝีมือและเจ้าหน้าที่ประจำเรือค้าขายของทางรัฐบาลไทย ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ฯ คนจีนเข้ามามากโดยเฉพาะตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ลงมา แพร่กระจายไปตามบ้านเล็กเมืองน้อยและท้องถิ่นต่าง ๆ มีอาชีพและการงานในระดับต่า ง ๆ นับตั้งแต่การเข้ารับราชการเป็นขุนนางเป็นเจ้าภาษีอากร เป็นพ่อค้าทั้งขายปลีก ขายส่งและหาบเร่ เป็นกุลีรับจ้างแบกหา ม งานช่างและงานกรรมกรแทบทุกชนิด โดยย่อก็คือคนจีนสามารถประกอบอาชีพได้มากมายหลายอย่างในขณะที่คนไทยส่วนใหญ่มี อาชีพแต่เพียงเป็นกสิกร เช่น ช าวนาและชาวไร่ที่ทำการเพาะปลูกเพื่อเลี้ยงตัวเองเท่านั้น จักรวาล
ดังได้กล่าวมาแล้วแต่ตอนต้นว่าในการดำรงความเป็นมนุษย์ของคนเรานั้น มิได้หยุดอยู่แค่เพียงความสัมพันธ์ทางสังคมและ< WBR>เศรษฐกิจเท่านั้น หากยังเกี่ยวข้องอย่างแยกออกไม่ได้กับเรื่องของระบบความเชื่อ เพราะระบบความเชื่อมีความหมายความสำคัญทั้งในด้านการบรรเทาความกระวน กระวายทางจิตใจ การสร้างความมั่นใจ และการสร้างพลังใจในการดำรงชีวิตรวมทั้งในขณะเดียวกันก็ช่วยในด้านการรักษาและควบคุมการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ให้เป็นไปอย่างราบรื่นอีกด้วย เรื่องของเศรษฐกิจเป็นความต้องการทางวัตถุที่จะทำให้คนเห็นแก่ตัวทำอะไรเฉพาะตัวเองเพื่อพรรคพ วกที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน แต่เรื่องของระบบความเชื่อเป็นเรื่องทางจิตใจที่เป็นของส่วนรวม ซึ่งมีความหมายในอันที่จะเหนี่ยวรั้งความเห็นแก่ตัวทางเศรษฐกิจและทางวัตถุให้อยู่ในระดับที่พอดี

วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555

อนุรักษ์วัฒนธรรมไทย การขอพรจากผู้ใหญ่



การเปลี่ยนแปลงทางสังคม

          สังคมมนุษย์มีลักษณะเช่นเดียวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติต่าง ๆ คือ มีการเปลี่ยนแปลง บางสังคมเปลี่ยนแปลงช้าขณะที่บางสังคมเปลี่ยนเร็ว ในอดีตสังคมส่วนใหญ่เปลี่ยนแปลงอย่างช้า ๆ จนเกือบไม่มีอะไรเปลี่ยนอย่างสำคัญในรอบร้อยปี แต่ในระยะประมาณร้อยปีที่แล้วสังคมจำนวนหนึ่งเปลี่ยนแปลงอย่างมากจากสภาพสังคมแบบโบราณกลายเป็นสังคมสมัยใหม่ ที่เห็นชัดเจนคือการเปลี่ยนจากสังคมแบบเกษตรกรรมมาเป็นสังคมอุตสาหกรรม จากสังคมแบบชนบทมาเป็นสังคมเมือง เป็นต้น เนื้อหาต่อไปจะเป็นการนำเสนอเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในประเด็นต่างๆ

ความหมายของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม

          พวงเพชร สุรัตนกวีกุล (2541) กล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมว่าหมายถึง การเปลี่ยนรูปแบบของโครงสร้างทางสังคม พฤติกรรมทางสังคม การเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมทั้งที่เป็นวัตถุและไม่ใช่วัตถุ การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมเป็นไปได้ทั้งในทางบวกและทางลบ คือมีสิ่งใหม่เกิดขึ้นหรือเพิ่มขึ้น และสิ่งที่มีอยู่เดิมสิ้นสภาพหรือถูกทำลายไป การเปลี่ยนแปลงในทางที่มีสิ่งใหม่หรือเพิ่มขึ้นที่เห็นชัด ได้แก่ สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆที่เป็นวัตถุสิ่งของและเทคนิค วิธีการ จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว การขยายตัวของเมือง การสื่อสารและการคมนาคมที่รวดเร็วและสะดวก ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม เป็นต้น ขณะเดียวกันก็ปรากฏว่าสิ่งของเครื่องเครื่องใช้และวิธีการเก่า ๆ หลายอย่างถูกยกเลิกหรือน้อยลงอย่างเห็นได้ชัด เช่น การใช้เกวียน การใช้วัวควายไถนา การใช้หมอตำแยทำคลอด การปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราช การบวชตามประเพณี เป็นต้น

ลักษณะทั่วไปของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม

  • การเปลี่ยนแปลงฯ มักทำให้สังคมทั้งระบบเปลี่ยนได้โดยปกติคนส่วนใหญ่ในสังคมมักเป็นผู้รับการเปลี่ยนแปลงมากกว่าเป็นผู้ริเริ่มทำการเปลี่ยนแปลง
  • การเปลี่ยนแปลงฯ เป็นกระบวนการปรับตัวตามธรรมชาติที่ทำให้สังคมดำรงอยู่ได้อย่างต่อเนื่องยาวนาน
  • การเปลี่ยนแปลงในส่วนต่าง ๆ ของสังคมนั้นเกิดขึ้นเร็วช้าไม่เท่ากัน
  • การเปลี่ยนแปลงในส่วนหนึ่งของสังคมมักส่งผลกระทบถึงส่วนอื่น ซึ่งอาจเป็นผลกระทบในทางบวกหรือทางลบก็ได้

แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒธรรม

          โลกยุคปัจจุบันกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วเมื่อเปรียบเทียบกับโลกยุคเก่า การเปลี่ยนเข้าสู่โลกยุคใหม่เริ่มขึ้นราวร้อยกว่าปีมานี้ โดยเริ่มจากสังคมตะวันตกแล้วแพร่กระจายไปทั่วโลกในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงในโลกปรากฏขึ้นชัดเจนหลายประการ เช่น
  • ประชากรเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
  • ขนาดของสังคมต่าง ๆ โดยเฉลี่ยใหญ่ขึ้น
  • มีการตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนถาวรและชุมชนเมืองมากขึ้น
  • สังคมมนุษย์มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่าง ๆ มากขึ้น
  • มีสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ เพิ่มขึ้นมากมาย
  • มีผลผลิตทางวัฒนธรรม (เช่น ข่าวสาร ความรู้ และบันเทิง)
  • ผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นมากทั้งชนิดและปริมาณ
  • การจัดระเบียบทางสังคมมีความซับซ้อนมากขึ้น
  • มีความไม่เท่าเทียมภายในสังคมและระหว่างสังคมเพิ่มขึ้น
         การเปลี่ยนแปลง เหล่านี้เกิดขึ้นมากน้อยและเร็วช้าไม่เท่ากันในแต่ละสังคม บางสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงมากจนกลายเป็นสังคมที่ก้าวหน้าและเป็นศูนย์กลางของโลกยุคใหม่ หลายสังคมเปลี่ยนแปลงช้าหรือมีการเปลี่ยนแปลงบางด้านที่เป็นปัญหา เช่น ประชากรเพิ่มมากจนกระทบต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ เช่น จีน อินเดีย ในบางประเทศเน้นการพัฒนาด้านวัตถุเกินไปจนเป็นปัญหาต่อความสัมพันธ์ทางสังคม
          แนวโน้มที่กำลังเป็นไปขณะนี้ คือ การแพร่กระจายเทคโนโลยีและระบบเศรษฐกิจจากสังคมที่
“ พัฒนาแล้ว ” ไปสู่สังคมที่ “ ด้อยพัฒนา ” หรือ “ กำลังพัฒนา ” ทั่วโลก หรือที่เรียกว่า “ โลกาภิวัตน์ ” นักสังคมวิทยามองการเปลี่ยนแปลงในสังคมส่วนใหญ่รวมทั้งสังคมไทยในปัจจุบันว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงจากสภาพสังคมแบบประเพณีไปสู่สังคมแบบใหม่ เรียกกระบวนการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวว่า “การเปลี่ยนเป็นความทันสมัย” (modernization) หรือ “ภาวะทันสมัย” ซึ่งหมายถึง “การเปลี่ยนเป็นแบบสังคมตะวันตก”

องค์ประกอบของความเป็นตะวันตกประกอบด้วย
(1) การมีระบบเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมและระบบทุนนิยม
(2) การเป็นสังคมเมือง
(3) ความเป็นประชาธิปไตย
(4) การดำเนินชีวิตและมีทัศนะเชิงโลกีย์วิสัย (Secularization)


          หลายคนมักเข้าใจว่า “ความทันสมัย” คือ “การพัฒนา” (development) แต่บางคนกลับเห็นว่า “สังคมที่ทันสมัยอาจไม่พัฒนาก็ได้” ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการให้ คำนิยามศัพท์ที่ต่างกัน ดังนั้นในที่นี่ผู้เรียบเรียงจักได้นำเสนอลักษณะของ “สังคมที่ทันสมัย” ในแง่มุมที่เป็นสังคมที่พัฒนาแล้ว ดังต่อไปนี้
  • เป็นสังคมอุตสาหกรรม เพราะระบบอุตสาหกรรมเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ตามมา
  • ระบบตลาดเสรี
  • ระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย
  • เปิดโอกาสให้มีการการเคลื่อนไหวทางสังคมหรือการเลื่อนชนชั้นได้โดยเสรี
  • พลเมืองในสังคมนั้นๆ รับรู้ข่าวสารและมีส่วนร่วมทางการเมือง มีความสำนึกว่าตนเองมีความสามารถ ไม่ตกอยู่ใต้อิทธิพลของประเพณี พร้อมที่จะรับสิ่งใหม่ ใจกว้าง และมีความยืดหยุ่นทางความคิด
  • แบบแผนของระบบการเมือง บรรทัดฐานทางสังคม โครงสร้างทางชนชั้นและบุคลิกภาพของสมาชิกสังคม
          การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ ในปัจจุบันมักไม่ใช่เรื่องภายในของประเทศหนึ่งเท่านั้นแต่เป็นสิ่งที่เกี่ยวข้องกับระบบสังคมโลก ที่ครอบคลุมระบบเศรษฐกิจโลก การค้า การเงินระหว่างประเทศ และบรรษัทข้ามชาติ (Multinational corporation) ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้ประเทศต่าง ๆ ผูกพัน จนกลายเป็นสังคมเดียวกันนั่นคือ “ระบบสังคมโลก”
          นอกจากนั้นสังคมที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปสู่ความทันสมัยนั้นมักพบลักษณะบางประการที่เรียกว่า “ทวิลักษณ์” (dualism) คือมีภาวะที่แตกต่างกันมากดำรงอยู่ควบคู่กัน เช่น ด้านเศรษฐกิจภาคเกษตรและภาคธุรกิจอุตสาหกรรมที่คู่กันแค่มีความไม่เท่าเทียมกัน รายได้ระหว่างกลุ่มคนภาคเกษตรกับภาคธุรกิจการค้าอุตสาหกรรม มีความแตกต่างกันมาก รัฐบาลมักจะเอาใจใส่และเอื้อประโยชน์แก่นักธุรกิจมากกว่าเกษตรกร และนักธุรกิจมักได้รับชัยชนะเหนือเกษตรกรในการขัดแย้งเพื่อแย่งทรัพยากรน้ำ ที่ดิน ป่าไม้ ในด้านการเมืองก็มีลักษณะสองด้าน คือ ด้านหนึ่งคนเมืองและชนชั้นกลางซึ่งมีจำนวนเพิ่มขึ้นจะมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องการมีส่วนร่วมมากขึ้น เสรีภาพทางการเมืองหรือระบบประชาธิปไตยเป็นกระแสหลักถูกผลักดันให้เกิดขึ้นเพื่อรองรับระบบธุรกิจตลาดเสรี แต่ในอีกด้านหนึ่งเกษตรกรในชนบทยังคุ้นเคยกับระบบอำนาจแบบอุปถัมภ์ และวิถีชีวิตแบบประเพณี ทำให้สังคมมีรูปแบบของระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยแต่มีพฤติกรรมทางการเมืองแบบอุปถัมภ์ มีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผลประโยชน์ ฝ่ายชนบทกับฝ่ายคนเมือง เช่น กรณีการเมืองในประเทศไทยซึ่งคนชนบทกับคนเมืองมีความคาดหวังต่อนักการเมืองต่างกันจึงมักเกิดสถานการณ์ที่เรียกว่า “คนชนบทตั้งรัฐบาลแต่คนเมืองล้มรัฐบาล” อยู่เสมอ


ที่มา http://www.baanjomyut.com/library_2/development_of_society/11.html

ปัญหาความยากจน

ความยากจน คือ สภาพการดำรงชีวิตของบุคคลซึ่งมีรายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย และไม่สามารถจะบำบัดความต้องการทั้งทางร่างกายและจิตใจ จนเป็นเหตุให้บุคคลนั้นมีสภาพความเป็นอยู่ต่ำกว่าระดับมาตรฐานที่สังคมวางไว้

สาเหตุของปัญหาความยากจน

  • เนื่องจากความไม่เท่าเทียมกันในความสามารถของบุคคล
  • เนื่องจากสิ่งของและบริการต่าง ๆ มีมากขึ้น
  • เนื่องจากไม่สามารถทำงานตามปกติทั้งนี้เนื่องจากความเจ็บป่วยความพิการทางร่างกายและจิตใจ ชราภาพ
  • เนื่องมาจากภัยธรรมชาติ เช่น ฝนแล้ง น้ำท่วม โรคระบาด ฯลฯ
  • เนื่องมาจากการว่างงาน
  • เนื่องมาจากการมีบุตรมาก
  • เนื่องมาจากการศึกษาต่ำ ไม่สามารถพัฒนาอาชีพของตนได้
  • เนื่องมาจากความเกียจคร้าน ไม่ชอบทำงาน
ผลของความยากจน
  • เป็นภาระของสังคมที่จะต้องให้ความช่วยเหลือ
  • ก่อให้เกิดความล่าช้าในการพัฒนาประเทศ
  • ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ และความไม่มั่นคงทางสังคม
  • ก่อให้เกิดปัญหาสังคมอื่นๆ ตามมาเช่น ปัญหาอาชญากรรม
  • ก่อให้เกิดปัญหาแก่ผู้ยากจนเองไม่สามารถจะกระทำอะไรตามที่ต้องการ
  • การป้องกันแก้ไขปัญหาความยากจน
  • การพัฒนาคุณภาพประชากรในด้านต่าง ๆ
  • ในด้านอาชีพควรดำเนินการเพื่อเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาความยากจนดังนี้
  • ยกระดับมาตรฐานความสามารถของแรงงานในอาชีพแขนงต่างๆ ให้สูงขึ้น
  • จัดหางานให้ทำและฝึกงานให้ด้วย
  • จัดตั้งหน่วยส่งเสริมอาชีพ
  • จัดโครงการพัฒนาอาชีพท้องถิ่น
ที่มา http://www.baanjomyut.com/library_2/development_of_society/29.html

สังคมไทยในยุคโลกาภิวัตน์

สังคมไทย คือ กลุ่มคนไทยที่ตั้งถิ่นฐานทำมาหากินต่อเนื่องกันมา ในพื้นที่ที่มีขอบเขตจำนวนหนึ่ง บุคคลที่อยู่ในสังคมหนึ่งล้วนต้องพึ่งอาศัย และมีภาระหน้าที่ที่เป็นภาระส่วนตัว ครอบครัว และภาระหน้าที่ต่อชุมชน เช่น การปกป้องรักษาความสงบเรียบร้อยให้ชุมชน การปฏิบัติหน้าที่ในการส่งเสริมสถาบันต่างๆ เช่น สถาบันศาสนา เพื่อเป็นหลักยึดเหนี่ยวจิตใจให้สงบ ด้วยเหตุที่สังคมต้องการความมั่นคงปลอดภัยเป็นพื้นฐาน ชุมชนแต่ละแห่งจึงต้องมีความสามัคคีกัน มีอุดมการณ์ร่วมกัน
อันเนื่องมาจากพัฒนาการของแต่ละชุมชนในด้านต่างๆ ไม่เท่ากัน นักสังคมวิทยา จึงแบ่งชุมชนออกเป็น 2 ชนิด คือ ชุมชนแบบชนบท และชุมชนแบบเมืองหรือนคร


สังคมชนบท
          คำว่า ชนบท ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน อธิบายว่า หมายถึง “บ้านนอก” และคำว่า บ้านนอก หมายถึง “เขตแดนที่ห่างจากตัวเมืองออกไป “คำจำกัดความดังกล่าวเป็นเพียงการบอกปริมณฑลของสองชุมชุนเท่านั้น นักสังคมวิทยาได้เสนอรายละเอียดที่เป็นลักษณะบางอย่างของชนบท ดังนี้
  • อาชีพชนบท มักประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก เช่น การปลูกข้าว ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น
  • ขนาดของชุมชนมีขนาดเล็ก จึงทำให้คนในชุมชนรู้จักมักคุ้นกัน รับรู้เรื่องทุกข์สุขของ ครอบครัวเพื่อนบ้าน และพึ่งพาอาศัยกันได้พอสมควร
  • การพึ่งพาธรรมชาติสูง โดยเฉพาะอาชีพทางการเกษตรกรรม ต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลักทำให้วิถีชีวิตผูกพันกับประเพณี ความเชื่อในเรื่องอำนาจเหนือธรรมชาติสูงกว่าคน เมือง ซึ่งอาจดำรงชีวิตต่าง จากชีวิตเกษตรกร
  • ค่าครองชีพต่ำ คือสามารถอยู่หากินได้ดีกว่าชุมชนเมือง ยังสามารถพึ่งอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ ท้องนา ผืนป่า แหล่งน้ำ เป็นแหล่งหาอาหารหรือผลิตอาหารได้
  • ไม่เคร่งเครียดกับการต่อสู้ เพื่อความอยู่รอด เท่าวิถีชีวิตของชาวเมือง ซึ่งผูกพันกับค่า จ้าง ค่าแรงรายวัน การทำงานตามเวลาที่กำหนด การนัดหมายจึงเป็นเรื่องที่ชาว ชนบทรับรู้ เมื่อเข้ามาทำงานในเมือง
  • ความเจริญและเทคโนโลยีสมัยใหม่ยังไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะระบบการสื่อสารยุคใหม่ โทรสาร โรงแรม ร้านค้า ที่ทันสมัยมีน้อย ดังนั้นความเจริญของชนบทจึงล่าช้ากว่าชุมชนเมือง
  • การรวมกลุ่มเพื่อเรียกร้องความยุติธรรมผลประโยชน์ มีการรวมตัวกันง่ายกว่าชุมชนเมือง ซึ่งมีกลุ่มอาชีพผลประโยชน์แตกต่างกัน
          วิถีชีวิตของคนไทยที่อาศัยอยู่ในชนบท เป็นคนกลุ่มใหญ่ มีจำนวนมากกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในเมือง หากจะนับถอยหลังไปในอดีต ทั้งชุมชนในชนบทและชุมชนเมืองก็ยังมีชีวิตความเป็นอยู่ไม่แตกต่างกันมากนัก เพียงแต่เมื่อมีการตั้งเมืองหลวงขึ้นเป็นศูนย์กลางอาณาจักร ชุมชนนั้นก็ใหญ่โตด้วยผู้คนภายในพระราชวังและบริเวณรอบๆ เขตเมืองหลวงเท่านั้น จนเมื่อความเจริญจากตะวันตกเริ่มเข้ามรในคริสต์ศตวรรษที่ 19 หรือนับแต่สยามทำสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษ ใน ค.ศ. 1855 และชาติตะวันตกอื่นๆ ในเวลาต่อมา ความแตกต่างในด้านความเจริญทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ในราชธานี ก็เริ่มแตกต่างจากชนบท แต่ชุมชนอื่นๆ ทั่วไปก็ยังเป็นชุมชนแบบชนบท การเริ่มเป็นชุมชนเมืองและชนบทจึงมีวิวัฒนาการที่เห็นชัดเจนในยุคอุตสาหกรรม หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา
          อย่างไรก็ตาม วิถีชีวิตคนไทยมิใช่จะเหมือนกันทั้งประเทศ ด้วยสาเหตุที่แต่ละภูมิภาคมีสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติ ตลอดจนการเคลื่อนย้ายของประชากร กลุ่มเผ่าพันธุ์ อันเป็นผลมาจากปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ตลอดเวลา จึงทำให้สังคมในแต่ละภูมิภาคแตกต่างกันออกไป เพื่อความเข้าใจลักษณะของสังคมไทยในภาพรวม จึงขอนำเสนอภาพรวมของแต่ละภาค

ที่มา http://www.baanjomyut.com/library_2/development_of_society/12.html


โลกาภิวัตน์กับการเมืองใหม่ในสังคมไทย

          ความเคลื่อนไหวเพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสังคมไทย โดยกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่ดำรงอยู่นั้น ก่อให้เกิดผลกระทบกับมิติการเมืองของประเทศอย่างเป็นรูปธรรม หากแต่การเปลี่ยนแปลงไปสู่เป้าหมายที่กลุ่มคาดหวังนั้น ก็ถูกกระแสโลกโลกาภิวัตน์ติดตามตรวจสอบและบางสถานะสร้างข้อจำกัดกับการเปลี่ ยนแปลงได้เช่นกัน


          โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่ประเทศฝ่ายตะวันตกติดตามสถานการณ์ทางการเมือ งในประเทศไทยและพากันรายงานข่าวไปในทิศทางต่าง ๆ โดยที่แต่ละประเทศหลักเหล่านั้นมีสมมุติฐานความเป็นประชาธิปไตยบนตัวแบบตะวั นตกและมองเฉพาะมิติเชิงองค์กรหรือรูปแบบของประชาธิปไตยที่เป็นทางการ ย่อมตีความและเข้าใจเหตุการณ์ทางการเมืองไทยไปแบบหนึ่ง
ตัวอย่างเช่นสื่อทางสหรัฐและยุโรปมักมองว่าเหตุการณ์เคลื่อนไหวของกล ุ่มพันธมิตรฯ มีความต่อเนื่องมาจากการปฏิวัติครั้งที่แล้วและยังทำการเปลี่ยนแปลงไม่สำเร็ จจึงได้รณรงค์อย่างต่อเนื่อง หากแต่เป็นการเคลื่อนไหวที่มีมิติความรุนแรงผสม บางสื่ออาจก้าวไปถึงผู้ที่สนับสนุนอยู่เบื้องหลังซึ่งในสังคมไทยเองไม่มีใคร กล่าวรายงานเช่นนั้นได้
          ต่างชาติมองว่าประเทศไทยเองเป็นตัวแบบของประเทศที่มีความสำเร็จในการ พัฒนาประชาธิปไตยจากสภาวะเผด็จการทหารไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยแนวทางสากล ดังนั้นหากประเทศไทยจะก้าวถอยหลังไปสู่ระบบเผด็จการรูปแบบต่าง ๆ เช่น ใช้กำลังปฏิวัติหรือเป็นรูปแบบการปกครองโดยเผด็จการกลุ่มชนต่าง ๆ แล้ว ประชาคมโลกที่เขาอ้างถึงก็จะไม่สามารถยอมรับได้และจะมีการตอบโต้ประเทศไทยถึ งขั้นเป็นแนวทางเดียวกับที่ได้กระทำกรณีเผด็จการพม่าอย่างไรอย่างนั้น
ผ ู้เขียนเห็นว่าในด้านหนึ่งแล้วการวินิจฉัยของนานาชาติต่อความเป็นประชาธิปไต ยหรือปัญหาความไม่เป็นประชาธิปไตยในสังคมไทยนั้นไม่ควรจะตั้งอยู่บนสมมติฐาน การวิเคราะห์ปัญหาเฉพาะการมองรูปแบบของประชาธิปไตยที่เป็นทางการ เช่น มองแค่รัฐใดมีการเลือกตั้ง มีพรรคการเมือง มีรัฐสภา และดำเนินกิจกรรมทางการเมืองไปต่อเนื่องโดยไม่สดุดหยุดลงด้วยวิธีการนอกระบบ แล้ว แปลว่าเป็นรัฐที่มีประชาธิปไตย
          หากแต่ควรมองว่าปัญหาประชาธิปไตยในเนื้อหาของรัฐนั้น ๆ มีตัวแปรหรือปัจจัยเหตุมาจากสิ่งใดและที่สำคัญควรช่วยคิดแก้ปัญหาด้วยว่าจะส นับสนุนรัฐนั้น ๆ ให้แก้ปัญหาในด้านเนื้อหาได้อย่างไร เช่น ในกรณีของรัฐไทย ผู้เขียนเห็นว่าเป็นปัญหาการรวมศูนย์ผูกขาดเชิงโครงสร้างอำนาจ เศรษฐกิจ และการเมือง ของคนกลุ่มน้อยที่เข้ามาแสวงประโยชน์จากกลไกประชาธิปไตย โดยเฉพาะจากระบบการเลือกตั้ง ทำให้เมื่อใช้กลไกดังกล่าวในสภาพที่โครงสร้างถูกผูกขาด กลุ่มทุนมักจะได้อำนาจการเมืองไปครอบครอง
          ถ้าหากมีมุมมองหรือแนวทางการวิเคราะห์ปัญหาเช่นนี้แล้วเชื่อว่าสื่อต ่างชาติรวมถึงชุมชนนานาชาติจะเกิดความเข้าใจทันทีว่าเหตุใดการปฏิวัติเมื่อป ีที่ผ่านมา ทำไมประชาชนพากันนำดอกไม้ไปมอบให้คณะปฏิวัติโดยไม่มีการต่อต้านหรือประท้วงจ ากกลุ่มชนเลยหรือหากมีก็น้อยมาก
แต่อย่างไรก็ตามภายใต้หนึ่งขวบปีของการปฏิวัติ คณะผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายมิได้ตั้งใจหรือพยายามจะแก้ไขปัญหาเชิงโครงสร้าง ทำแค่เพียงแก้เกณฑ์หรือวิธีการจุกจิกในเรื่องการเลือกตั้งและที่มาต่าง ๆ ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง แถมยังไม่เข้าใจตรรกของทฤษฎีเชิงโครงสร้างที่ว่า บุคคลเป็นผลพวงของโครงสร้าง คณะผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายจึงมุ่งเพียงทำลายล้างและสังหารตัวบุคคลคนเดียวให้ ดับดิ้นลงไปโดยไม่แตะปัญหาเชิงโครงสร้าง
          ผลลัพธ์คือเมื่อโครงสร้างดำรงอยู่พอจัดให้มีการเลือกตั้งอีกครั้งหนึ ่ง ตัวแทนราษฎรที่ประชาชนเลือกเข้ามาจึงมีลักษณะในความสัมพันธ์เชิงอำนาจไม่เปล ี่ยนแปลงไปจากเดิม หากใช้ตัวแปรนี้วิเคราะห์หรือประเมินการปฏิวัติแล้ว จะทราบคำตอบถึงประสิทธิผลของการปฏิวัติได้เป็นอย่างดี แถมสังคมไทยยังได้สภาวะใหม่อันเป็นผลพวงของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวคือ ความแตกแยกทางความคิดของผู้คนในสังคมอย่างเป็นรูปธรรมอีกด้วย
          ในวันนี้สถานการณ์อยู่ในสภาวะน่าวิตกเพราะต่างฝ่ายต่างมีการสร้างความชอบธรรม ในเรื่องการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่กลุ่มมีความประสงค์ดีอยากให้รัฐไทยเปล ี่ยนแปลงไปสู่จุดมุ่งหมาย ดังกล่าว แต่ละกลุ่มสามารถใช้ความชอบธรรมของตนระดมประชาชนทั้งชนชั้นกลางและอื่น ๆ เข้าร่วมขบวนการรวมถึงมีความคิดในเชิงตรงข้ามกับอีกกลุ่มหนึ่งในลักษณะพร้อม ใช้ความรุนแรงอยู่ด้วย
สถาบันหรือองค์กรหลักในสังคมก็ถูกลากพานำไปสู่ความเป็นฝักฝ่ายทางแนว คิดและสภาวะความเป็นกลางถูกบีบบังคับให้เหลือน้อยลงเต็มที จะเห็นได้ว่าวุฒิภาวะขององค์กรต่าง ๆ หรือบุคลากรในองค์กรที่จะวิเคราะห์และแยกแยะปัญหาในเชิงเหตุผลหรือหาที่ว่าง สำหรับการใช้เหตุผลกลับถูกบดบังไปด้วยอคติความโกรธและความเชื่อมาอยู่เหนือเ หตุผลทั้งสองฝ่ายจึงมีข้อจำกัด มีความชอบธรรมและได้รับการยอมรับในความชอบธรรมคนละฐานกัน เช่น กลุ่มพันธมิตรฯ เองตั้งใจจะแก้ปัญหาในประเทศอันเนื่องมาจากปัญหาโครงสร้างดังกล่าวแล้วแต่ไม ่ประสบความสำเร็จในช่วงปฏิวัติที่ผ่านมา การรณรงค์รอบใหม่ได้รับความชอบธรรมในสังคมไทยเอง หากแต่การใช้กำลังยึดทำเนียบและสถานีโทรทัศน์กลับถูกกังขาจากนานาชาติอีกฝ่ายหนึ่งอ้างความชอบธรรมเรื่องการพิทักษ์ปกป้องระบอบประชาธิปไตย โดยละเว้นไม่พูดปัญหาเชิงโครงสร้างพยายามลากยาวรักษากติกาเรื่องตัวแทนและกา รเลือกตั้งซึ่งได้ได้การยอมรับจากมิติภายในบางส่วนและชุมชนนานาชาติต่างก็มอ งปัญหาพื้นผิวตรงกัน จึงได้รับการยอมรับจากนานาชาติ แต่ถูกปฏิเสธจากส่วนหนึ่งในสังคมไทยและมีสภาพเหมือนกับได้อำนาจแต่ไม่มีอำนา จในการปกครอง
          ด ังนั้น ประเทศไทยอยู่ในสภาวะที่ตีบตันทางการเมือง การแก้ไขปัญหาในระบบก็ไม่เกิดประสิทธิภาพ ไม่ได้รับการยอมรับจากอีกฝ่ายหนึ่ง ส่วนจะใช้วิธีการนอกระบบ ตรรกของโลกาภิวัตน์ก็จะเป็นตัวถ่วงลั้งทำให้แม้แต่จะคิดก็ล้มเหลวแล้ว สถานการณ์ต่อไปจึงน่าจะเป็นลักษณะทั้งสองฝ่ายยันกันทางยุทธวิธี และหากไม่สามารถก้าวพ้นสภาวะดังกล่าวได้ท้ายที่สุดรัฐไทยคงไม่พ้นสงครามกลางเมือง

ที่มา http://witayakornclub.wordpress.com/2008/11/06/gol/

หน้าที่ของเด็กไทยและผู้ใหญ่


หน้าที่พลเมืองของเด็กไทย

“ เด็กเอ๋ยเด็กดี ต้องมีหน้าที่ 10 อย่างด้วยกัน
1. นับถือศาสนา
2. รักษาธรรมเนียมมั่น
3. เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์
4. วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน
5. ยึดมั่นกตัญญู

6. เป็นผู้รู้รักการงาน
7. ต้องการศึกษาให้เชี่ยวชาญ ต้องมานะบางบั่น ไม่เกียจไม่คร้าน
8. รู้จักออมประหยัด
9. ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล น้ำใจนัก กีฬากล้าหาญ ให้เหมาะสมกับกาลสมัยชาติพัฒนา
10. ทำตนให้เป็นประโยชน์ รู้บาปบุญคุณโทษ สมบัติชาติต้องรักษา เด็กสมัยชาติพัฒนา

จะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ ”


หน้าที่พลเมืองของผู้ใหญ่ไทย

“ ผู้ใหญ่เอ๋ยผู้ใหญ่ดี ต้องมีหน้าที่ 10 อย่างด้วยกัน ”
1. เคารพความแตกต่างระหว่างศาสนา
2. รักษาความจริงให้มั่น
3. อย่าลบหลู่พ่อแม่ครูอาจารย์ (และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว)
4. วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน
5. เลิกยึดมั่นในตัวกู
6. เป็นผู้อยู่อย่างพอเพียง
7. ต้องเลิกใช้ชีวิตสุ่มเสี่ยงอบายมุข
8. รู้จักเป็นผู้ให้

9. ต้องฝึกฝนน้ำใจสัตย์ซื่อตลอดกาล น้ำใจนักกีฬากล้าหาญ ให้เหมาะสมกับกาลสมัย ชาติพัฒนา
10. บำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ มีสำนึกในบาปบุญคุณโทษ สมบัติชาติต้องรักษา ผู้ใหญ่สมัยชาติพัฒนา ต้องมีปิยวาจา ไม่โกรธไม่กร้าว ชาติไทยจะรุ่งโรจน์สกาว เมื่อผู้ใหญ่ของเราครองทศพิธราชธรรม ”

ขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.dharmastation.org/blogMsg.php?BgrID=149

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

สังคมไทยในปัจจุบัน

สังคมไทยปัจจุบัน เป็นสังคมที่เห็นคุณค่าทางวัตถุมากกว่าคุณค่าทางจิตใจ ยิ่งพัฒนาไปเท่าใด จะยิ่งเกิดปัญหาจากการพัฒนาเท่านั้น ยิ่งมีวัตถุสนองความต้องการมากเท่าใดยิ่งไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักพอ คนไทยในยุคโลกาภิวัตน์จึงมีปัญหาทางจิตเกิดขึ้นมากมาย เช่น มีพฤติกรรมการแสดงออกที่รุนแรง ขาดเมตตา ทั้ง ๆ ที่พระพุทธศาสนาสอนว่า เมตตาธรรมเป็นเครื่องค้ำจุนโลก ทำให้คนไทยยุคใหม่ตกเป็นทาสของประเทศทุนนิยมที่ผลิตเครื่องอุปโภคบริโภคมาเป็นเหยื่อล่อ ทำให้มนุษย์เกิดกิเลสอยากมีอยากได้ สนับสนุนให้เกิดค่านิยมบริโภคผ่านสื่อต่าง ๆ โดยปราศจากการควบคุม เมื่อเกิดความอยากมี อยากได้ แต่ไม่มีเงินซื้อจะกระทำทุจริต ลักเล็กขโมยน้อย ฉกชิงวิ่งราวดังที่เป็นข่าวอยู่เสมอ สังคมปัจจุบันจึงไร้ความมีน้ำใจ มนุษย์ชอบหมกมุ่นในกามคุณ เป็นที่รวมสิ่งยั่วยุทางเพศ สื่อลามกต่าง ๆ มากมาย มีสิ่งมอมเมาในรูปแบบการพนันต่าง ๆ อีกมาก เสพสิ่งเสพติด เช่น บุหรี่ ยาบ้า ยาไอซ์ เมื่อสังคมไทยตกอยู่ในสภาพแวดล้อมทางสังคมเช่นนี้ จึงหมกมุ่นจนถอนตัวไม่ขึ้น อีกทั้งคนส่วนใหญ่คิดว่า การมีความพร้อมทางวัตถุจะทำให้ชีวิตมีความสงบสุข จึงชอบวิ่งตามวัตถุ ไขว่คว้าหามาบำรุงชีวิต สิ่งใดที่ยังไม่มีเหมือนคนทั่วไปจะพยายามดิ้นรนหามา สิ่งที่มีอยู่แล้วก็ให้มีมากกว่าเดิม ถึงกับกู้หนี้ยืมสินมาซื้อหา ที่ถลำลึกอาจถึงขั้นทุจริตคิดมิชอบต่อหน้าที่การงาน คนประเภทนี้จะหาความสงบสุขทางใจไม่ได้จนตลอดชีวิต
          มนุษย์ในสังคมปัจจุบันชอบตรวจสอบคนอื่น ไม่ยอมหันมาตรวจสอบตนเอง ดังคำสอนที่ว่า จงเตือนตนด้วยตนเอง หรือจงตั้งตนไว้ในคุณธรรมก่อน แล้วจึงสอนคนอื่น ทำได้เช่นนี้จึงจะไม่มัวหมอง ไม่ควรแต่คิดหาความผิดของคนอื่นหรือธุระที่เขาทำหรือยังไม่ทำ แต่ควรพิจารณาตนว่า อะไรที่ตนทำแล้วหรือยังไม่กระทำ ระบบการศึกษาอบรมของไทยในปัจจุบันได้รับอิทธิพลจากประเทศทางตะวันตก สอนให้รู้เรื่องภายนอกตัว มิได้เน้นว่าเมื่อเรียนรู้เรื่องของคนอื่นแล้ว ให้หันมาตรวจสอบตนเองบ้าง ระบบการศึกษาเช่นนี้เมื่อตนมีข้อบกพร่องอะไรกลับมองไม่เห็น หรือเห็นแต่แกล้งทำไม่สนใจ พฤติกรรมของมนุษย์ประการสำคัญ คือ มีศรัทธาเลื่อนลอย คนไทยนับถือพระนับถือเจ้าก็จริง แต่ส่วนใหญ่ไม่ เลื่อมใสอย่างมั่นคง ชาวพุทธที่นับถือพระรัตนตรัยจึงควรพึ่งตนเอง ยึดเอาพระรัตนตรัยเป็นแรงบันดาลใจ ไม่ดูถูกความสามารถของตนเอง หันไปพึ่งผีสางเทวดาหรือสิ่งที่เหลวไหล หรืองมงายต่าง ๆ เช่น สัตว์ประหลาดหัวเป็นหมู หางเป็นหมา ปลาไหลเผือก เป็นต้น
           คนไทยยุคใหม่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่นับถือพระรัตนตรัยเพียงลมปากเท่านั้น แต่มีพฤติกรรมสวนทางให้เลื่อมใสศรัทธาเป็นส่วนใหญ่ หลักสูตรวิชาพระพุทธศาสนามีหัวข้อที่ทันสมัยอยู่ข้อหนึ่งคือ ปัญหาทางจิตของประชาชนไทย ที่ว่าทันสมัยเพราะสังคมไทยเป็นสังคมที่มีความสงบสุข ไม่มีปัญหาทางจิต ไม่เหมือนกับประเทศที่เจริญหรือพัฒนาแล้วแต่มีคนเป็นโรคจิตหรือคนบ้าเพิ่มขึ้น แต่ปัจจุบันคนไทยตกอยู่ในสภาพไม่แตกต่างจากประเทศที่เจริญหรือประเทศที่พัฒนาแล้วที่หมกมุ่น หลงใหลในวัตถุมากว่าสิ่งที่มีคุณค่าทางจิตใจ ทำให้เดินเข้าสู่สิ่งที่เรียกว่า อบายมุขได้ง่ายมากกว่าการเดินทางเข้าสู่วัด เพื่อบำเพ็ญบุญ บำเพ็ญทานบารมีเพื่อให้ชีวิตได้พบกับความสุข ความเจริญ


ที่มา สำนักพัฒนาการประชาสัมพันธ์ กรมประชาสัมพันธ์ http://hq.prd.go.th/PRTechnicalDM/ewt_news.php?nid=1619

ปมปัญหาความเลื่อมล้ำในสังคมไทย

รักประเทศไทย

ความสามัคคี




ความสามัคคีของคนในชาติ

จุดอ่อน จุดแข็ง ของเยาวชนไทยในยุคโลกาภิวัตน์

๑. จุดแข็งของเยาวชนไทย

๑.๑ เป็นคนมีเหตุผล ความมีเหตุผลนี้จะทำให้พฤติกรรมกล้าถาม กล้าตอบ กล้าโต้เถียง ซึ่งผู้ใหญ่จะมองว่าหัวแข็ง ไม่มีสัมมาคารวะ แต่ ลักษณะมีเหตุมีผลนี้เป็นคุณสมบัติที่เหมาะกับโลก ปัจจุบัน อันเป็นยุคโฆษณา
๑.๒ เป็นตัวของตัวเอง ความเป็นตัวของตัวเองคืออยากทำอะไรก็ทำที่ตัวเองเห็นว่าดีถูกต้อง เช่น การยืน การพูด ถกเถียง การแต่งตัว แม้แต่การเข้าไปในวัด คุยกับพระ หากผู้ใหญ่ไม่เข้าใจความเป็นตัวของวัยรุ่นก็จะตำหนิหรือหาว่าไม่มีมารยาท ไม่มีสัมมาคารวะ
๑.๓ ความกล้า ความสนใจกว้างกว่า การก้าวทันวิทยาการใหม่ ๆ วัยรุ่นเป็นคนรุ่นใหม่จะกล้ามากกว่าเดิม กล้าเรียน กล้าทำงาน กล้าเป็นนักร้อง กล้าเป็นนางแบบ รู้เรื่องคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เนท รู้ความเคลื่อนไหว ความเป็นไปต่าง ๆ ของสังคม และโลก ทั้งที่ใกล้และไกลตัว


๒. จุดอ่อนของเยาวชนไทย

๒.๑ ความอ่อนแอในเชิงวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบไทยอันเนื่องมาจากชีวิตครอบครัว ลักษณะสังคมไทยเปลี่ยนไปมาก พ่อแม่ไม่มีเวลาสั่งสอนอบรมลูกน้อยลง เยาวชนเข้าเรียนหนังสือในชีวิตอยู่ในโรงเรียนตั้งแต่วัยเยาว์ โรงเรียนไม่สามารถอบรมกล่อมเกลาเยาวชนในด้านวัฒนธรรมและวิถีชีวิตได้เท่าเทียมกับพ่อแม่และชุมชน หรือจะกล่าวง่าย ๆ คือ วัด บ้าน โรงเรียน แยกส่วนกันไม่เป็นสังคมที่กลมกลืนกัน การหล่อหลอม อบรม สืบทอดวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบไทยก็อ่อนด้อยไป ยิ่งเยาวชนที่อยู่ในวัยทำงานต้องจากครอบครัวไปอยู่ต่างถิ่น อยู่ในสังคมโรงเรียน ยิ่งเกิดการแตกแยก ทั้งทางด้านจิตใจและการดำเนินชีวิต ความอ่อนแอในทางวัฒนธรรมทำให้ขาดจุดยืน ขาดความมั่นใจ ขาดการใคร่ครวญและรับหรือไม่รับสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามากระทบได้ง่าย เกิดความสับสนในการดำเนินชีวิตแบบไทยที่เหมาะสมถึงสภาพปัจจุบัน เยาวชนจำนวนไม่น้อยเห่อเหิม ฟุ่มเฟือย หนักไม่เอาเบาไม่สู้ หลงวัตถุ หลงเงินตรา ก่อปัญหาให้ตัวเองและสังคม
๒.๒ ความว้าเหว่ เปล่าเปลี่ยว สับสนวุ่นวายทาง สภาพครอบครัว สภาพสังคมที่สับสน สภาพการแข่งขัน สภาพชิงดีชิงเด่น เอารัดเอาเปรียบ ทำให้จิตใจของเยาวชนจำนวนไม่น้อยเกิดความสับสนวุ่นวาย ยิ่งวัยรุ่นเป็นวัยที่ติดเพื่อนพลอยทำให้ตัดสินใจอะไรพลาดพลั้งได้ง่าย ยิ่งประเภทพ่อแม่ไม่มีเวลาให้ลูกหรือครอบครัวมีปัญหา ครอบครัวแตกแยก หรือการออกไปทำงานต่างถิ่นยิ่งเสี่ยงต่อการตัดสินใจในทางที่ผิดก่อปัญหาต่อตัวเองและสังคม

จุดอ่อนของเยาวชนทั้ง ๒ ข้อ เป็นพื้นฐานสำคัญที่สุด ก่อให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมาที่น่าสังเกต ก็คือ เป็นเรื่องของจิตใจอันเป็นผลให้คนดำเนินชีวิตไปทั้งในทางชั่วและทางดี เรื่องการนำและอบรมทางใจนี้ พระสงฆ์ย่อมมีบทบาทสูงสุดอย่างไม่ต้องสงสัย


ที่มา http://www.songpak16.com/aticle/Wisaitas.html

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

สภาพปัญหาของเยาวชนไทย




          ถ้ามองถึงปัญหาของเยาวชนไทยจะต้องยอมรับเสียก่อนว่าเยาวชนไทยส่วนใหญ่เป็นคนดี เป็นพลเมืองดีของชาติ แต่ผู้ใหญ่คาดหวังจะให้เขาเป็นคนดียิ่งขึ้นไปอีกและมีเยาวชนอีกจำนวนหนึ่งมีปัญหา ซึ่งคำว่าจำนวนหนึ่งนี้เมื่อเทียบกับเยาวชนทั้งประเทศ เยาวชนที่มีปัญหาก็นับจำนวนเป็นล้านทีเดียว
จากลักษณะของเยาวชนไทยที่มีจำนวนมากเช่นนี้ หากจะทำความเข้าใจและให้ความสนใจเยาวชน ก็ควรเข้าใจว่าเยาวชนแยกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ซึ่งแบ่งแยกตามลักษณะสังคมอยู่แล้ว คือ

        ๑. กลุ่มเยาวชนที่อยู่ในสถานศึกษา โรงเรียนเริ่มตั้งแ ต่นักเรียนชั้นมัธยมเรื่อยไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย เยาวชนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นคนดี ใฝ่ศึกษาหาความรู้ มีความรู้ สนใจสิ่งที่อยู่รอบตัวและสนใจเรื่องราวทั้งที่อยู่ใกล้ตัว ไกลตัว รวมไปถึงเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เป็นกลุ่มที่มีกิจกรรรมและความสนใจหลากหลาย
        ๒. กลุ่มเยาวชนที่อยู่ในชุมชน ในหมู่บ้านหนึ่งหรือชุมชนหนึ่ง จะมีเยาวชนอยู่จำนวนไม่น้อยทีเดียว เยาวชนเหล่านี้จะมีลักษณะที่หลากหลายปะปนกัน เยาวชนจำนวนหนึ่งออกไปทำงานนอกบ้านแล้วกลับมาตอนเย็น บางกลุ่มทำงานช่วยพ่อแม่อยู่บ้าน บางกลุ่มอยู่บ้านเฉย ๆ บางกลุ่มก็เข้ามาอยู่ในชุมชนอย่างแอบแฝง ดังนั้นเยาวชนกลุ่มนี้จึงมีลักษณะหลากหลาย มีตั้งแต่เยาวชนผู้นำรวมกลุ่มทำกิจกรรมให้แก่สังคมอย่างเข้มแข็ง เป็นกำลังสำคัญของหมู่บ้านรองจากผู้ใหญ่รวมไปถึง พวกอยู่เฉย ๆ กินเหล้าเมายา ลักเล็กขโมยน้อย รวมไปถึงติดยาเสพติด และเรื่องอื่น ๆ ด้วย
       ๓. กลุ่มเยาวชนที่อยู่ในสถานประกอบการ เยาวชนกลุ่มนี้มีตั้งแต่เด็กที่เพิ่งจบชั้นประถมปีที่ ๖ แล้วก็ เข้าไปรับจ้างขายแรงงาน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเยาวชนวัยกำลังหนุ่มสาว อายุระหว่าง ๑๘ ปี ไปจนถึง ๒๕ ปี ซึ่งถือว่าเป็นเยาวชนเต็มตัว คนวัยหนุ่มสาวนี้จะไปทำงานรวมตัวกันอยู่ตามเมืองใหญ่ ๆ หรือเมืองอุตสาหกรรม เช่น กรุงเทพ ฯ ระยอง อยุธยา นครราชสีมา เป็นต้น เยาวชนดังกล่าวพื้นฐานความรู้ส่วนใหญ่จบแค่ ป. ๖ ต้องจากบ้านที่คุ้นเคยกับชีวิตชนบท แบบชาวไร่ชาวนามาใช้ชีวิตแบบอุตสาหกรรม ต้องทำงานตรงตามเวลาเข้าทำงาน เวลาเลิกงาน ได้ค่าจ้างที่ไม่มากทำงานหนัก ต้องทำงานนอกเวลาเพิ่มเพื่อให้ได้เงินมากขึ้น อาหารการกินจำกัด ที่อยู่คับแคบ เวลาพักผ่อนน้อย ว่างเพียงวันอาทิตย์วันเดียว จะรีบออกไปเที่ยวพักผ่อนตามศูนย์การค้าหรือสวนสาธารณะ มีปัญหาทางจิตใจ ปัญหาทางเพศ จับคู่อยู่กันแบบผัวเมียเร็ว มีลูก เกิดปัญหา เกิดการแตกแยก รวมถึงเรื่องปัญหายาเสพติด เป็นต้น
       ๔. เยาวชนในวัด กลุ่มนี้มีทั้งสามเณร รวมไปถึงเด็กวัดและคนอาศัยวัดอยู่ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่มีฐานะยากจน บวชเณรเพื่อหนีความยากจนและเบื่อเรียนหนังสือ ส่วนใหญ่เป็นเยาวชนผู้ใฝ่ดี แต่ขาดแคลนทุกอย่าง มีความเหงาว้าเหว่ทางใจ โดยเฉพาะเด็กวัด การขาดหรือความไม่เท่าเทียมคนอื่นทำให้ขาด ความมั่นใจ หรือมิฉะนั้นก็จะหันไปในทางที่ผิด

ที่มา http://www.songpak16.com/aticle/Wisaitas.html

เด็กกับครอบครัวไทยในปัจจุบัน




          ทุกวันนี้คนไทย การดำเนินชีวิตประจำวันล้วนมีเรื่องของเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งนั้น ในยุคของการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่ทำให้บ้านเมืองเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
เป็นที่หน้าสังเกตว่า ความสัมพันธ์ ตลอดจนรูปแบบการดำเนินชีวิตของครอบครัวไทย ในปัจจุบันมีความแตกต่างไปจากครอบครัวไทยในอดีต พ่อ แม่ ลูก ห่างเหินกันมากขึ้น แต่ละคนต่างเป็นอิสระต่อกัน มีทิศทางของตนเองทุกคนในครอบครัวใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่สังคมนอกบ้านทำงานหนัก เรียนหนัก บ้านเป็นเพียงที่พักพิงยามสมาชิกหมดภารกิจ
          พ่อแม่ ผู้ปกครอง ก็มีวิธีการเลี้ยงดูหลานที่แตกต่างไปจากเดิม พ่อ แม่ทำงานเหนื่อยกลับมาบ้านอยากพักผ่อนบ้างเป็นผลใกล้คราวใกล้ชิดสนิทสนมตามแบบธรรมเนียมไทยลดลง หลายครอบครัวเลี้ยงลูกด้วยวิทยาการสมัยใหม่ให้เครื่องยนต์กลไกเป็นผู้ดูแลอบรมสั่งสอนลูกแทนตน ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ วีดิโอ อุปกรณ์การเล่นอันทันสมัยนานาชนิด
          อีกอย่างหนึ่งที่ตามมา ในยุคที่อุดมไปด้วยความเจริญรวดเร็วนี้ ก็เห็นจะได้แก่ ความวิตกกังวลของผู้เป็นพ่อแม่ ที่เกรงว่าลูกหลานของตนจะรู้น้อยกว่าเด็กอื่น ไม่ทัดเทียมลูกบ้านอื่น ดังนั้นเด็กตัวเล็กๆ จึงถูกผู้ใหญ่กักเกณฑ์ให้ทำสิ่งต่างๆ ที่เกินวัยของเข้าอยู่ตลอดเวลา สมองน้อยๆ ของพวกเขา ต้องคิด ต้องจดจำ รับรู้ความรู้วิทยาการต่างๆ มากขึ้น ต้องเรียนให้หนัก ต้องเรียนพิเศษ ต้องหาความสามารถพิเศษใส่ตัว เด็กเองก็เกิดความรับรู้ว่าตนจะต้องทำแบบนั้นเพราะ ใครๆ เขาก็ทำกัน ถ้าไม่ทำก็สู้คนอื่นไม่ได้ หรือแม้ไม่อยากทำเด็กถูกผู้ใหญ่ใส่ความคิดให้อยู่ทุกวันว่าต้องทำ แล้วสมองน้อยๆ ความคิด ความรู้สึกอันบริสุทธิ์ของเขาก็ซึมซับเอาความคิดเหล่านี้ไว้โดยปริยาย
          จึงเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจเลยที่จะพบว่าเด็กๆ ในทุกวันนี้ดูไม่สดใสเท่าที่ควรจะจะเป็นแต่ละคนดูเคร่งเครียดเอาจริงเอาจัง เป็นผู้ใหญ่ตัวน้อยๆ ที่ช่างครุ่นคิด
          นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในยุคนี้มีการเสดงออกหลายอย่างที่ผู้ใหญ่ เรียกว่าเป็นปัญหามากขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เด็กมีความเป็นตัวของตัวเอง มีความคิดเป็นของตัวเอง ซึ่งมักสวนทางกับความคิดของผู้ใหญ่อยู่เสมอเด็กหลายคนมีพฤติกรรมก้าวร้าว ต่อต้าน ไม่เชื่อฟังเที่ยวเตร่กับกลุ่มเพื่อนโดยไม่สนใจความรู้สึกของผู้ปกครอง หรือแม้กระทั่งการใช้สารเสพติดนานาชนิด ทั้งที่รู้เป็นสิ่งที่ให้โทษต่อร่างกาย มีพฤติกรรมบียงเบนไม่ว่าจะเป็น ทอม ดี้ ตุ๊ด กวนเมืองตามแต่จะเรียนกัน เมื่อเกิดสิ่งนี้ขึ้นมา คงจะไม่มีประโยชน์อะไรที่เราจะมานั่งโทษกัน ว่าใครผิด...
          มาถึงวันนี้ยังไม่สายเกินไปที่บรรดา พ่อแม่ ผู้ปกครอง จะหันกลับไปให้ความสนใจในธรรมชาติของเด็กๆ ว่า แม้เขาจะได้รับความสะดวกสบายในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ วิธีการเลี้ยงเด็กตามแบบไทยๆ ก็ยังไม่เป็นเรื่องที่ล้าสมัย หากผู้ใหญ่รู้จักปรับวิธีการให้เหมาะสมกับยุคที่เปลี่ยนไป


ที่มา http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=1128

สังคมไทยกำลังถอยกลับ

ปัญหาสังคมไทยในปัจจุบัน

ปัญหาสังคม หมายถึง สภาวะการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนจำนวนมากในสังคมและเห็นว่าควรร่วมกันแก้ปัญหานั้นให้ดีขึ้น
      สาเหตุของปัญหาสังคม
          1. เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การเปลี่ยนเป็นสังคมเมือง การเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม การเป็นค่านิยมใหม่ ๆ ทำให้เกิดปัญหาสังคมขึ้น
          2. เกิดจากสมาชิกในสังคมบางกลุ่มไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สังคมวางไว้ เช่น เกิดความขัดแย้งระหว่างกฎเกณฑ์กับความมุ่งหมาย เกิดความล้มเหลวของกระบวนการขัดเกลาทางสังคมหรือสมาชิกบางกลุ่มที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่สังคม ทำให้เกิดการขาดระเบียบและเป็นปัญหาทางสังคมขึ้น
          3. เกิดจากการที่กลุ่มสังคมต่าง ๆ มีความคิดเห็นความต้องการ และผลประโยชน์ขัดกัน ไม่ยอมร่วมมือแก้ไขปัญหาของสังคม เช่น การเอาเปรียบลูกจ้าง เป็นต้น
      ปัญหาของสังคมไทย
          1. ปัญหาความยากจน มีสาเหตุเกิดจาก
                    1. การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร
                    2. การขาดการศึกษา ทำให้มีรายได้ต่ำ
                    3. ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
                    4. ลักษณะอาชีพมีรายได้ไม่แน่นอนสม่ำเสมอ เช่นกรรมกร รับจ้าง
                    5. มีบุตรมากเกินไป รายได้ไม่พอกับรายจ่าย
                    6. มีลักษณะนิสัยเฉื่อยชาและเกียจคร้าน ไม่ชอบทำงาน
              การแก้ไขปัญหา :
                    1. พัฒนาเศรษฐกิจ เช่น กระจายรายได้ การสร้างงานในชนบท ขยายการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น
                    2. พัฒนาสังคม เช่น ขยายการศึกษาเพิ่มมากขึ้น บริการฝึกอาชีพให้กับประชาชน
                    3. พัฒนาคุณภาพของประชากร
           2. ปัญหาอาชญากรรม มีสาเหตุเกิดจาก
                    1. การขาดความอบอุ่นทางจิตใจ
                    2. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมมากขึ้น
                    3. สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม
                    4. มีค่านิยมในทางที่ผิด
               การแก้ไขปัญหา
                    1. รัฐและหน่วยงานรับผิดชอบควรช่วยกันแก้ไขปัญหา
                    2. ปลูกฝังและพัฒนาจิตใจของสมาชิกในสังคมให้มีคุณธรรม
                    3. อบรมสั่งสอนและให้ความรัก ความอบอุ่น และรวมถึงให้ความร่วมมือกับหน่วยงานและเจ้าหน้าที่
            3.ปัญหายาเสพย์ติด มีสาเหตุเกิดจาก
                    1. ถูกชักชวนให้ทดลอง
                    2. ประกอบอาชีพบางอย่างที่ต้องการเพิ่มงานมากขึ้น
                    3. ความอยากรู้และอยากทดลอง
                    4. สภาวะแวดล้อมไม่ดี
               การแก้ไขปัญหา
                    1. ให้ความรู้เรื่องโทษของยาเสพย์ติด
                    2. ป้องกันและปราบปรามผู้ซื้อและผู้ขายอย่างเด็ดขาด
                    3. การร่วมมือสอดส่องดูแลความประพฤติของเด็กอย่างใกล้ชิด
                    4. จัดให้มีการบำบัดและรักษาผู้ติดยาเสพย์ติด
            4. ปัญหาโรคเอดส์ สาเหตุเกิดจาก
                    1. ปัญหายาเสพย์ติด
                    2. ขาดความรู้ในการป้องกันโรค
                    3. เกิดจากความยากจนและไม่เพียงพอ
               การแก้ไขปัญหา
                    1. ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการโรคเอดส์ให้กับประชาชน
                    2. ไม่เสพย์สิ่งเสพย์ติด โดยเฉพาะการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
                    3. ระมัดระวังการติดเชื้อโดยทางสายเลือด
            5. ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น อากาศเป็นพิษ น้ำเน่าเสีย เสียงเป็นพิษ ขยะมูลฝอย เป็นต้น มีสาเหตุเกิดจาก
                    1. การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรอย่างรวดเร็ว
                    2. เกิดจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                    3. การขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม
                    4. ขาดความรับผิดชอบ และระเบียบวินัยของสมาชิกในสังคม
               การแก้ไขปัญหา
                    1. ให้การศึกษาและคำแนะนำต่าง ๆ แก่สมาชิกในสังคม
                    2. วางนโยบายการป้องกันการทำลายสิ่งแวดล้อม
                    3. ลงโทษผู้ฝ่าฝืนและกระทำผิดอย่างจริงจัง

แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมไทย
      1. รัฐบาลควรออกระเบียบ กฎเกณฑ์ และกฎหมาย เพื่อกำหนดมาตรการการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิดอย่างจริงจังและแน่นอน                    
      2. วางแผนและนโยบายการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อรณรงค์และอนุรักษ์
      3. ให้การศึกษาแก่สมาชิกในสังคมเพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในปัญหาต่าง ๆ ให้มากขึ้น
      4. ปรับปรุงและพัฒนาสังคมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
      5. พัฒนาเศรษฐกิจทั้งด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการบริการให้ดีขึ้น
      6. พัฒนาสังคม สร้างค่านิยม และรณรงค์ให้ประชาชนร่วมมือในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
ที่มา http://www.lks.ac.th/kukiat/student/betterroyal/social/7.html