วันอังคารที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

วัฒนธรรมและประเพณีไทย

            การที่มนุษย์มาอยู่รวมกันเป็นกลุ่มเป็นสังคมขึ้นมาย่อมต้องมีความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกของกลุ่มมีระเบียบแบบแผนที่ควบคุมพฤติกรรมของบุคคลในกลุ่มให้อยู่ในขอบเขตที่จะอยู่ร่วมกันอย่างมีความสงบสุข สิ่งที่เป็นเครื่องมือในการควบคุมพฤติกรรมของกลุ่มคนนี้เราเรียกว่า "วัฒนธรรม" ดังนั้น วัฒนธรรมจึงเปรียบเสมือนอาภรณ์ห่อหุ้มร่างกายตกแต่งคนให้น่าดูชม วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ต้องควบคู่กับคนเสมอไป 


            "วัฒนธรรมมีความหมายครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่าง ที่แสดงออกถึงวิถีชีวิตของมนุษย์ในสังคมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง หรือสังคมใดสังคมหนึ่ง มนุษย์ได้คิดสร้างระเบียบกฎเกณฑ์ใช้ในการปฏิบัติ การจัดระเบียบตลอดจนระบบความเชื่อ ค่านิยม ความรู้ และเทคโนโลยีต่าง ๆ ในการควบคุมและใช้ประโยชน์จากธรรมชาติ"


             "วัฒนธรรมคือความเจริญก้าวหน้าของมนุษย์ หรือลักษณะประจำชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งที่อยู่ในสังคม ซึ่งไม่เพียงแต่จะหมายถึงความสำเร็จในด้านศิลปกรรมหรือมารยาททางสังคมเท่านั้น  กล่าวคือ ชนทุกกลุ่มต้องมีวัฒนธรรม ดังนั้น เมื่อมีความแตกต่างระหว่างชนแต่ละกลุ่ม ก็ย่อมมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมนั่นเอง เช่น ชาวนาจีน กับชาวนาในสหรัฐอเมริกา ย่อมมีความแตกต่างกัน


             "วัฒนธรรมคือสิ่งที่มนุษย์เปลี่ยนแปลงหรือปรับปรุงหรือผลิตสร้างขึ้น เพื่อความเจริญงอกงามในวิถีชีวิตและส่วนรวม วัฒนธรรมคือวิถีแห่งชีวิตของมนุษย์ในส่วนร่วมที่ถ่ายทอดกันได้ เรียนกันได้ เอาอย่างกันได้ วัฒนธรรมจึงเป็นผลผลิตของส่วนร่วมที่มนุษย์ได้เรียนรู้มาจากคนสมัยก่อน สืบต่อกันมาเป็นประเพณี วัฒนธรรมจึงเป็นทั้งความคิดเห็นหรือการกระทำของมนุษย์ในส่วนร่วมที่เป็นลักษณะเดียวกัน และสำแดงให้ปรากฏเป็นภาษา ความเชื่อ ระเบียบประเพณี


             พระราชบัญญัติ วัฒนธรรมแห่งชาติพุทธศักราช 2485 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2486 ได้ให้ความหมายของวัฒนธรรมไว้ดังนี้


             วัฒนธรรม คือ ลักษณะที่แสดงถึงความเจริญงอกงาม ความเป็นระเบียบเรียบร้อย ความกลมเกลียวก้าวหน้าของชาติ และศีลธรรมอันดีของประชาชน


              วัฒนธรรมจึงเป็นลักษณะพฤติกรรมต่างๆ ของมนุษย์ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของมนุษย์ ทั้งบุคคลและสังคมที่ได้วิวัฒนาการต่อเนื่องมาอย่างมีแบบแผน แต่อย่างไรก็ดีมนุษย์นั้นไม่ได้เกาะกลุ่มอยู่เฉพาะในสังคมของตนเอง ได้มีความสัมพันธ์ติดต่อกับสังคมต่างๆ ซึ่งอาจอยู่ใกล้ชิดมีพรมแดนติดต่อกัน หรือยู่ปะปนในสถานที่เดียวกันหรือ การที่ชนชาติหนึ่งตกอยู่ใต้การปกครองของชนชาติหนึ่ง มนุษย์เป็นผู้รู้จักเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสิ่งต่าง ๆ จึงนำเอาวัฒนธรรมที่เห็นจากได้สัมพันธ์ติดต่อมาใช้โดยอาจรับมาเพิ่มเติมเป็นวัฒนธรรมของตนเองโดยตรงหรือนำเอามาดัดแปลงแก้ไขให้สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพวัฒนธรรมที่มีอยู่เดิม


              ในปัจจุบันนี้จึงไม่มีประเทศชาติใดที่มีวัฒนธรรมบริสุทธิ์อย่างแท้จริง แต่จะมีวัฒนธรรมที่มีพื้นฐานมาจากความรู้ ประสบการณ์ที่สังคมตกทอดมาโดยเฉพาะของสังคมนั้น และจากวัฒนธรรมแหล่งอื่นที่เข้ามาผสมปะปนอยู่ และวัฒนธรรมไทยก็มีแนวทางเช่นนี้ 

สภาพปัญหาสังคม





ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=NQLHWpgK9WM&feature=related

ค่านิยมของสังคมไทย

          ลักษณะค่านิยมของสังคมไทยในปัจจุบัน สภาพสังคมไทยในปัจจุบันได้เปลี่ยนแปลงไปมาก ตามสภาพสิ่งแวดล้อมและกาลเวลา มีการติดต่อค้าขาย สัมพันธ์ทางการทูตกับต่างประเทศ มีทุนให้ครู-อาจารย์ ไปดูงานต่างประเทศ การช่วยเหลือทางด้านเทคโนโลยีแก่สถาบันการศึกษา ทำให้มีการพัฒนาประเทศให้เจริญรุ่งเรืองมากขึ้น ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ค่านิยมตลอดจนประเพณีวัฒนธรรมของสังคมไทยเปลี่ยนแปลไปตามสภาพของสังคมด้วยดังนี้


๑. ยึดมั่นในพระพุทธศาสนา เช่นเดียวกับในอดีต มีการศึกษาพระธรรมวินัยอย่างลึกซึ้ง ตลอดจนมีการปรับปรุงแก้ไขกฎเกณฑ์ข้อบังคับของสงฆ์ ประชาชนมีบทบาทตรวจสอบพฤติกรรมทางวินัยสงฆ์ได้ เพื่อป้องกันการแสวงหาผลประโยชน์จากพระพุทธศาสนา
๒. เคารพเทิดทูลสถาบันพระมหากษัตริย์ สังคมไทยต่างกับสังคมชาติอื่น กษัตริย์ไทยเปรียบเสมือนสมมติเทพ คอยดูแลทุกข์สุขของประชาชน ทำนุบำรุงประเทศชาติให้เจริญรุ่งเรืองในทุกๆด้าน จึงเป็นศูนย์รวมจิตใจพระองค์เป็นทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตคนไทย เป็นที่เคารพเทิดทูนของคนไทยเป็นอย่างยิ่ง
๓. เชื่อในเรื่องเหตุผล ความเป็นจริง และความถูกต้องมากขึ้นกว่าในอดีต ในสภาวะของเหตุการณ์ต่างๆ ปัจจุบันสังคมไทยรู้จักคิดใช้ปัญญามีเหตุผลมากขึ้น เช่น ได้ออกกฎหมายเพื่อให้ความคุ้งครองเจ้าของความคิด ไม่ให้ใครลอกเลียนแบบได้ เรียกว่า “ ลิขสิทธิ์ทางปัญญา ” เป็นต้น
๔. ค่านิยมในการศึกษาหาความรู้ ปัจจุบันสังคมไทยต้องแข่งขันกันตลอดเวลา การจะพาตนเองให้รอดจากปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมได้จำเป็นต้องมีความรู้ความสามารถที่โดดเด่นจึงเป็นสิ่งที่คนไทยในสังคมปัจจุบันต้องเสาะแสวงหา
๕. นิยมความร่ำรวยและมีเกียรติ สังคมไทยในปัจจุบันให้ความสำคัญเรืองความร่ำรวยและเงินทอง เพราะมีความเชื่อที่ว่าเงินทองสามารถบันดาลความสุขตอบสนองความต้องการของคนได้
๖. มีความเชื่อมั่นในตนเองสูง เพื่อปลูกฝังให้เยาวชนไทยทุกคนกล้าตัดสินใจและกล้าแสดงออกทางความคิดและการกระทำ มีบุคลิกภาพที่เหมาะสมที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้
๗. ชอบแก่งแย่งชิงดีชิงเด่น ลักษณะกลัวการเสียเปรียบ กลัวสู้เพื่อนไม่ได้ เพื่อการอยู่รอดจึงต้องทำการแย่งชิงแสวงหาผลประโยชน์ให้ตนเอง
๘. นิยมการบริโภค นิยมบริโภคของแพง เลียบแบบอย่างตะวันตก รักความสะดวกสบาย ใช้จ่ายเกินตัวเป็นการนำไปสู่การมีหนี้สินมากขึ้น
๙. ต้องทำงานแข่งกับเวลา ทุกวันนี้คนล้นงาน จึงต้องรู้จักกำหนดเวลา การแบ่งแยกเวลาในการทำงาน การเดินทางและการพักผ่อนให้ชัดเจน
๑o. ชอบอิสระไม่ชอบอยู่ภายใต้อำนาจของใคร ไม่ชอบการมีเจ้านายหลายคน ในการทำงานมักประกอบอาชีพอิสระ เปิดกิจการเป็นของตนเอง
๑๑. ต้องการสิทธิความเสมอภาคระหว่างหญิงกับชายเท่าเทียมกัน หญิงไทยในปัจจุบันจะมีความคล่องแคล่ว สามารถบริหารงานไดเช่นเดียวกับผู้ชายเป็นที่พึ่งของครอบครัวได้ ภรรยาจึงไม่ใช่ช้างเท้าหลังอีกต่อไป
๑๒. นิยมการทดลองอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงาน ซึ่งเป็นการเลียนแบบวัฒนธรรมตะวันตก ที่มีความเจริญทางวัตถุมากกว่าจิตใจ ผู้ใหญ่ควรทำตนให้เป็นตัวอย่างที่ดีแก่เยาวชน เหมาะสมกับศีลธรรมจรรยา
๑๓. นิยมภาษาต่างประเทศในยุคโลกาภิวัตน์ ปัจจุบันภาษาต่างประเทศมีความสำคัญและจำเป็นมาก เพราะต้องใช้ในการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจและเทคโนโลยีใหม่ๆ ตำราหรืออินเตอร์เน็ตมีความจำเป็น ต้องมีความรู้ทางภาษาต่างประเทศ หากไม่มีก็ยากต่อการศึกษาและนำไปใช้

โลกหลังสังคมฐานความรู้กับบริบทสังคมไทย

          ในอดีตนั้นฝ่ายรัฐเป็นผู้มีอำนาจในการยึดกุมและการกำหนดเนื้อหาสาระของข้อมูลข่าวสารไว้เพียงฝ่ายเดียว และใช้วิธีการสื่อสารแบบทางเดียว แต่ว่าปัจจุบันกระบวนการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างสะดวกมากขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากเทคโนโลยีสมัยใหม่ รวมทั้งประชาชนทั่วไปได้สร้างชุมชนเรียนรู้ออนไลน์ ผ่านทางอินเตอร์ เช่น ปัจจุบันมีการใช้ บล็อก (Blog) เป็นฐานข้อมูลในการบันทึก และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน รวมทั้งให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นข้อเท็จจริงในปัจจุบัน เช่น กรณีของ GT 200 เป็นต้น ตลอดจนความรวดเร็วของการรับรู้ของประชาชนและสื่อมวลชน ทำให้มีกระบวนการตรวจสอบข้อเท็จจริงของการบริหารงานของรัฐบาลจากภาคประชาชนและชุมชนออนไลน์เป็นเบื้องต้น ก่อนที่จะได้มีการสื่อสารให้สาธารณชนทราบและอีกหลายๆ กรณี 
            แนวคิดเกี่ยวกับโลกหลังสังคมฐานความรู้นั้นหากพิจารณาให้ดีแล้ว สังคมไทยและประชาชนยังไม่ได้ก้าวผ่านช่วงของสังคมฐานความรู้ แต่หากว่ามีการเปลี่ยนแปลงเป็นไปอย่างรวดเร็วจนทำให้ประชาชนและสังคมไทยตั้งรับไม่ทัน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และประเด็นเกี่ยวกับการต่อสู้ทางอุดมการณ์ประชาธิปไตย และความรู้ความเข้าใจในระบบประชาธิปไตยที่แท้จริง ประชาชนโดยทั่วไปยังไม่มีความเข้าใจอย่างถ่องแท้ ฐานความรู้และชุดความรู้ในเรื่องเกี่ยวกับประชาธิปไตยคนละชุดกัน ทำให้เกิดความแตกแยกทางด้านอุดมการณ์ทางการเมือง รวมทั้งกระบวนการรับรู้ข้อมูลข่าวสารทางด้านการเมืองของประชาชนก็แตกต่างกัน ซึ่งข้อมูลข่าวสารทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมนั้นประชาชนได้รับรู้ผ่านช่องทางต่างๆ ซึ่งเป็นชุดข้อมูลของคนละฝ่ายกัน 
              ในบริบททางสังคมและการเมืองไทยในปัจจุบันนั้น ประชาชนไม่ได้อยู่ในฐานะของการเป็นผู้รับข่าวสารเพียงฝ่ายเดียวเหมือนอย่างเช่นอดีตที่ผ่านมา ทำให้การสื่อสารภาคประชาชนมีมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นวิทยุชุมชน สถานีโทรทัศน์ทีวีไทย TPBS ซึ่งถือว่าเป็นสื่อทางเลือก สื่อสาธารณะที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและเข้ามามีส่วนร่วมได้ รวมทั้งชุมชนออนไลน์ผ่านทางอินเทอร์เน็ต กระดานข่าวอิเล็กทรอนิกส์ (web board) ต่างๆ ที่เป็นการเปิดพื้นที่ทางสังคม (Social Space) ให้กับประชาชนได้มีพื้นที่ในการแสดงออก แสดงความคิดเห็นในประเด็นต่างๆ ทั้งทางด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการพัฒนาประเทศ ทำให้เกิดมิติของการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของภาคประชาชนผ่านทางช่องทางต่างๆ ดังกล่าว 
              แนวคิดเกี่ยวกับโลกหลังสังคมฐานความรู้ที่ ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ โลกพลิกโฉม : ความมั่งคั่งในนิยามใหม่นั้นว่า โลกหลังสังคมฐานความรู้เป็นโลกที่เน้นในเรื่อง "กัลยาณมิตร" มิใช่เพียงแค่ "พันธมิตร" เป็นโลกที่ปรับเปลี่ยนรูปแบบปฏิสัมพันธ์ของผู้คนจาก "ต่างคนต่างปิด" ไปสู่ "ต่างคนต่างเปิด" เป็นโลกที่ก้าวเลยความคิดของ "การแข่งขัน" ไปสู่ "การร่วมสร้างสรรค์" โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "การร่วมรังสรรค์ทางสังคม" ไม่ใช่ "การร่วมรังสรรค์ในเชิงพาณิชย์" เพียงอย่างเดียว เป็นโลกที่ภูมิปัญญาได้พัฒนาก้าวล่วงปริมณฑลของ "ทรัพย์สินทางปัญญา" สู่ "ภูมิปัญญามหาชน" โลก "หลังสังคมฐานความรู้" เป็นโลกที่เปลี่ยนวิถีชีวิตมนุษย์ จาก "การพึ่งพิง" ไปสู่สองโลกที่เสริมกันระหว่าง "ความเป็นอิสระ" และ "การพึ่งพาอาศัยกัน" ซึ่งผู้เขียนเห็นว่ามีความสอดคล้องกับแนวคิดของ ดนัย จันทร์เจ้าฉาย เรื่อง กลยุทธ์น่านน้ำสีขาว ที่ได้กล่าวถึง การดำเนินธุรกิจที่มีคุณธรรม รับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งจิตอาสา ธุรกิจสีขาว สังคมสีขาว องค์กรสีขาวที่เน้นการทำงานแบบร่วมมือและสร้างสรรค์ แบ่งปันซึ่งกันและกัน 
              ดังนั้น จากที่ได้กล่าวมาบริบทสังคมการเมืองไทย แม้จะยังไม่ก้าวผ่านสังคมฐานความรู้ไปสู่หลังสังคมฐานความรู้ แต่ทำให้เห็นถึงพัฒนาการของพลังอำนาจของประชาชนที่มีเพิ่มมากขึ้นในด้านต่างๆ เช่น การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารผ่านทางช่องทางเทคโนโลยีที่ทันสมัย การมีพื้นที่ทางสังคมในการแสดงความคิดเห็นทางสังคมและการเมือง ตลอดจนชุมชนออนไลน์ที่ได้รวมตัวกันเป็นเครือข่ายอย่างไม่เป็นทางการในการมีส่วนร่วมทางการเมืองและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ รวมทั้งความโปร่งใสของการบริหารงานของรัฐบาล ซึ่งนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านจากสังคมฐานความรู้ไปสู่โลกหลังสังคมฐานความรู้ต่อไป

เศรษฐกิจกับสังคมไทย หลักแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียง

          การพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง คือการพัฒนาที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท โดยคำนึงถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว ตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน การตัดสินใจ และการกระทำ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีหลักพิจารณาอยู่ 5 ส่วน ดังนี้


          กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่ และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็น โดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัย และวิกฤต เพื่อความมั่นคง และความยั่งยืนของการพัฒนา


          คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน


          คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ พร้อม ๆ กันดังนี้
                         ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไป และไม่มากเกินไปโดยไม่เบียดเบียนตนเอง และผู้อื่น เช่นการผลติ และการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
                         ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
                         การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้ และไกล


           เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรู้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
                        เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผน และความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
                        เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต


           แนวทางปฏิบัติ / ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุล และยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ความรู้ และเทคโนโลยี

ชีวิตของมนุษย์จะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบ ๓ อย่างคืออะไรบ้าง

          ตามที่กล่าวมานี้ก็พอจะสรุปให้เห็นได้ว่าชีวิตของมนุษย์โดยทั่วไปนั้น จะต้องเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบ 3 อย่างที่มีคว ามสัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ได้ คือ โครงสร้างสังคม ระบบเศรษฐกิจ และระบบความเชื่อในเรื่องของจักรวาล ความสัมพันธ์อย่างได้ดุลระหว่างองค์ประกอบทั้ ง 3 อย่างนี้ จะเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมมนุษย์ดำรงอยู่ได้ทั้งความต้องการทางวัตถุและด้านจิตใจ ดังนั้นในการเสนอให้เห็นภา พพจน์ทางสังคมและวัฒนธรรมไทยในที่นี้ จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับองค์ประกอบทางสังคมและวัฒนธรรมทั้งสามอย่างที่กล่าวมานี้เป็นสำคัญ 


โครงสร้างสังคม


          สังคมไทยเป็นสังคมที่มีทั้งเหมือนและแตกต่างกันกับสังคมในประเทศอื่นๆ ทั่วโลกที่ว่าเหมือนกันก็คือ เป็นสังคมมนุษย์เหมือน กันแต่ละสังคมต่างก็เกี่ยวข้องกับเรื่องของโครงสร้างสังคม ระบบทางเศรษฐกิจ และความนึกคิดในเรื่องจักรวาลและระบบความเชื่อเหมือน< WBR>กัน แต่ที่ต ่างกันก็เนื่องมาจากการอยู่ในตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และมีความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ที่แตกต่างกัน การปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมดังกล่าวทำให้มีรูปแบบทางวัฒนธรรมแตกต่างไปจากสังคมอื่น ๆ เพราะฉะนั้นการที่จะทำความเข้าใจถึงลักษณะโครงสร้างสั งคม และรูปแบบทางวัฒนธรรมของไทยให้เกิดภาพพจน์ขึ้นอย่างเข้าใจนั้น จำเป็นต้องกล่าวถึงสภาพภูมิศาสตร์และความเป็นมาทางประ วัติศาสตร์เป็นพื้นฐานเสียก่อน 


เศรษฐกิจ


          กลุ่มชนต่างชาติที่สำคัญที่ทำให้เกิดการขยายตัวทางเศรษฐกิจเข้าสู่ชนบทในระดับเมืองเล็ก ๆ ที่เป็นศูนย์กลางของท้องถ ิ่นก็คือพวกคนจีน คนจีนเข้ามาเมืองไทยเป็นเวลานานแล้ว ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา แต่ทว่าตั้งหลักแหล่งจำกัดอยู่เฉพาะใน เมืองใหญ่ ๆ เท่านั้น โดย มีอาชีพการค้าขายและรับจ้างเฉพาะบางอย่าง เช่นงานช่างฝีมือและเจ้าหน้าที่ประจำเรือค้าขายของทางรัฐบาลไทย ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ฯ คนจีนเข้ามามากโดยเฉพาะตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ลงมา แพร่กระจายไปตามบ้านเล็กเมืองน้อยและท้องถิ่นต่าง ๆ มีอาชีพและการงานในระดับต่า ง ๆ นับตั้งแต่การเข้ารับราชการเป็นขุนนางเป็นเจ้าภาษีอากร เป็นพ่อค้าทั้งขายปลีก ขายส่งและหาบเร่ เป็นกุลีรับจ้างแบกหา ม งานช่างและงานกรรมกรแทบทุกชนิด โดยย่อก็คือคนจีนสามารถประกอบอาชีพได้มากมายหลายอย่างในขณะที่คนไทยส่วนใหญ่มี อาชีพแต่เพียงเป็นกสิกร เช่น ช าวนาและชาวไร่ที่ทำการเพาะปลูกเพื่อเลี้ยงตัวเองเท่านั้น จักรวาล
ดังได้กล่าวมาแล้วแต่ตอนต้นว่าในการดำรงความเป็นมนุษย์ของคนเรานั้น มิได้หยุดอยู่แค่เพียงความสัมพันธ์ทางสังคมและ< WBR>เศรษฐกิจเท่านั้น หากยังเกี่ยวข้องอย่างแยกออกไม่ได้กับเรื่องของระบบความเชื่อ เพราะระบบความเชื่อมีความหมายความสำคัญทั้งในด้านการบรรเทาความกระวน กระวายทางจิตใจ การสร้างความมั่นใจ และการสร้างพลังใจในการดำรงชีวิตรวมทั้งในขณะเดียวกันก็ช่วยในด้านการรักษาและควบคุมการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ให้เป็นไปอย่างราบรื่นอีกด้วย เรื่องของเศรษฐกิจเป็นความต้องการทางวัตถุที่จะทำให้คนเห็นแก่ตัวทำอะไรเฉพาะตัวเองเพื่อพรรคพ วกที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน แต่เรื่องของระบบความเชื่อเป็นเรื่องทางจิตใจที่เป็นของส่วนรวม ซึ่งมีความหมายในอันที่จะเหนี่ยวรั้งความเห็นแก่ตัวทางเศรษฐกิจและทางวัตถุให้อยู่ในระดับที่พอดี