วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2555

สภาพปัญหาของเยาวชนไทย




          ถ้ามองถึงปัญหาของเยาวชนไทยจะต้องยอมรับเสียก่อนว่าเยาวชนไทยส่วนใหญ่เป็นคนดี เป็นพลเมืองดีของชาติ แต่ผู้ใหญ่คาดหวังจะให้เขาเป็นคนดียิ่งขึ้นไปอีกและมีเยาวชนอีกจำนวนหนึ่งมีปัญหา ซึ่งคำว่าจำนวนหนึ่งนี้เมื่อเทียบกับเยาวชนทั้งประเทศ เยาวชนที่มีปัญหาก็นับจำนวนเป็นล้านทีเดียว
จากลักษณะของเยาวชนไทยที่มีจำนวนมากเช่นนี้ หากจะทำความเข้าใจและให้ความสนใจเยาวชน ก็ควรเข้าใจว่าเยาวชนแยกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ซึ่งแบ่งแยกตามลักษณะสังคมอยู่แล้ว คือ

        ๑. กลุ่มเยาวชนที่อยู่ในสถานศึกษา โรงเรียนเริ่มตั้งแ ต่นักเรียนชั้นมัธยมเรื่อยไปจนถึงระดับมหาวิทยาลัย เยาวชนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นคนดี ใฝ่ศึกษาหาความรู้ มีความรู้ สนใจสิ่งที่อยู่รอบตัวและสนใจเรื่องราวทั้งที่อยู่ใกล้ตัว ไกลตัว รวมไปถึงเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลก เป็นกลุ่มที่มีกิจกรรรมและความสนใจหลากหลาย
        ๒. กลุ่มเยาวชนที่อยู่ในชุมชน ในหมู่บ้านหนึ่งหรือชุมชนหนึ่ง จะมีเยาวชนอยู่จำนวนไม่น้อยทีเดียว เยาวชนเหล่านี้จะมีลักษณะที่หลากหลายปะปนกัน เยาวชนจำนวนหนึ่งออกไปทำงานนอกบ้านแล้วกลับมาตอนเย็น บางกลุ่มทำงานช่วยพ่อแม่อยู่บ้าน บางกลุ่มอยู่บ้านเฉย ๆ บางกลุ่มก็เข้ามาอยู่ในชุมชนอย่างแอบแฝง ดังนั้นเยาวชนกลุ่มนี้จึงมีลักษณะหลากหลาย มีตั้งแต่เยาวชนผู้นำรวมกลุ่มทำกิจกรรมให้แก่สังคมอย่างเข้มแข็ง เป็นกำลังสำคัญของหมู่บ้านรองจากผู้ใหญ่รวมไปถึง พวกอยู่เฉย ๆ กินเหล้าเมายา ลักเล็กขโมยน้อย รวมไปถึงติดยาเสพติด และเรื่องอื่น ๆ ด้วย
       ๓. กลุ่มเยาวชนที่อยู่ในสถานประกอบการ เยาวชนกลุ่มนี้มีตั้งแต่เด็กที่เพิ่งจบชั้นประถมปีที่ ๖ แล้วก็ เข้าไปรับจ้างขายแรงงาน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นเยาวชนวัยกำลังหนุ่มสาว อายุระหว่าง ๑๘ ปี ไปจนถึง ๒๕ ปี ซึ่งถือว่าเป็นเยาวชนเต็มตัว คนวัยหนุ่มสาวนี้จะไปทำงานรวมตัวกันอยู่ตามเมืองใหญ่ ๆ หรือเมืองอุตสาหกรรม เช่น กรุงเทพ ฯ ระยอง อยุธยา นครราชสีมา เป็นต้น เยาวชนดังกล่าวพื้นฐานความรู้ส่วนใหญ่จบแค่ ป. ๖ ต้องจากบ้านที่คุ้นเคยกับชีวิตชนบท แบบชาวไร่ชาวนามาใช้ชีวิตแบบอุตสาหกรรม ต้องทำงานตรงตามเวลาเข้าทำงาน เวลาเลิกงาน ได้ค่าจ้างที่ไม่มากทำงานหนัก ต้องทำงานนอกเวลาเพิ่มเพื่อให้ได้เงินมากขึ้น อาหารการกินจำกัด ที่อยู่คับแคบ เวลาพักผ่อนน้อย ว่างเพียงวันอาทิตย์วันเดียว จะรีบออกไปเที่ยวพักผ่อนตามศูนย์การค้าหรือสวนสาธารณะ มีปัญหาทางจิตใจ ปัญหาทางเพศ จับคู่อยู่กันแบบผัวเมียเร็ว มีลูก เกิดปัญหา เกิดการแตกแยก รวมถึงเรื่องปัญหายาเสพติด เป็นต้น
       ๔. เยาวชนในวัด กลุ่มนี้มีทั้งสามเณร รวมไปถึงเด็กวัดและคนอาศัยวัดอยู่ส่วนใหญ่มาจากครอบครัวที่มีฐานะยากจน บวชเณรเพื่อหนีความยากจนและเบื่อเรียนหนังสือ ส่วนใหญ่เป็นเยาวชนผู้ใฝ่ดี แต่ขาดแคลนทุกอย่าง มีความเหงาว้าเหว่ทางใจ โดยเฉพาะเด็กวัด การขาดหรือความไม่เท่าเทียมคนอื่นทำให้ขาด ความมั่นใจ หรือมิฉะนั้นก็จะหันไปในทางที่ผิด

ที่มา http://www.songpak16.com/aticle/Wisaitas.html

เด็กกับครอบครัวไทยในปัจจุบัน




          ทุกวันนี้คนไทย การดำเนินชีวิตประจำวันล้วนมีเรื่องของเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเกี่ยวข้องทั้งนั้น ในยุคของการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่ทำให้บ้านเมืองเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
เป็นที่หน้าสังเกตว่า ความสัมพันธ์ ตลอดจนรูปแบบการดำเนินชีวิตของครอบครัวไทย ในปัจจุบันมีความแตกต่างไปจากครอบครัวไทยในอดีต พ่อ แม่ ลูก ห่างเหินกันมากขึ้น แต่ละคนต่างเป็นอิสระต่อกัน มีทิศทางของตนเองทุกคนในครอบครัวใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่สังคมนอกบ้านทำงานหนัก เรียนหนัก บ้านเป็นเพียงที่พักพิงยามสมาชิกหมดภารกิจ
          พ่อแม่ ผู้ปกครอง ก็มีวิธีการเลี้ยงดูหลานที่แตกต่างไปจากเดิม พ่อ แม่ทำงานเหนื่อยกลับมาบ้านอยากพักผ่อนบ้างเป็นผลใกล้คราวใกล้ชิดสนิทสนมตามแบบธรรมเนียมไทยลดลง หลายครอบครัวเลี้ยงลูกด้วยวิทยาการสมัยใหม่ให้เครื่องยนต์กลไกเป็นผู้ดูแลอบรมสั่งสอนลูกแทนตน ไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ วีดิโอ อุปกรณ์การเล่นอันทันสมัยนานาชนิด
          อีกอย่างหนึ่งที่ตามมา ในยุคที่อุดมไปด้วยความเจริญรวดเร็วนี้ ก็เห็นจะได้แก่ ความวิตกกังวลของผู้เป็นพ่อแม่ ที่เกรงว่าลูกหลานของตนจะรู้น้อยกว่าเด็กอื่น ไม่ทัดเทียมลูกบ้านอื่น ดังนั้นเด็กตัวเล็กๆ จึงถูกผู้ใหญ่กักเกณฑ์ให้ทำสิ่งต่างๆ ที่เกินวัยของเข้าอยู่ตลอดเวลา สมองน้อยๆ ของพวกเขา ต้องคิด ต้องจดจำ รับรู้ความรู้วิทยาการต่างๆ มากขึ้น ต้องเรียนให้หนัก ต้องเรียนพิเศษ ต้องหาความสามารถพิเศษใส่ตัว เด็กเองก็เกิดความรับรู้ว่าตนจะต้องทำแบบนั้นเพราะ ใครๆ เขาก็ทำกัน ถ้าไม่ทำก็สู้คนอื่นไม่ได้ หรือแม้ไม่อยากทำเด็กถูกผู้ใหญ่ใส่ความคิดให้อยู่ทุกวันว่าต้องทำ แล้วสมองน้อยๆ ความคิด ความรู้สึกอันบริสุทธิ์ของเขาก็ซึมซับเอาความคิดเหล่านี้ไว้โดยปริยาย
          จึงเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจเลยที่จะพบว่าเด็กๆ ในทุกวันนี้ดูไม่สดใสเท่าที่ควรจะจะเป็นแต่ละคนดูเคร่งเครียดเอาจริงเอาจัง เป็นผู้ใหญ่ตัวน้อยๆ ที่ช่างครุ่นคิด
          นอกจากนี้ยังพบว่าเด็กไทยในยุคนี้มีการเสดงออกหลายอย่างที่ผู้ใหญ่ เรียกว่าเป็นปัญหามากขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เด็กมีความเป็นตัวของตัวเอง มีความคิดเป็นของตัวเอง ซึ่งมักสวนทางกับความคิดของผู้ใหญ่อยู่เสมอเด็กหลายคนมีพฤติกรรมก้าวร้าว ต่อต้าน ไม่เชื่อฟังเที่ยวเตร่กับกลุ่มเพื่อนโดยไม่สนใจความรู้สึกของผู้ปกครอง หรือแม้กระทั่งการใช้สารเสพติดนานาชนิด ทั้งที่รู้เป็นสิ่งที่ให้โทษต่อร่างกาย มีพฤติกรรมบียงเบนไม่ว่าจะเป็น ทอม ดี้ ตุ๊ด กวนเมืองตามแต่จะเรียนกัน เมื่อเกิดสิ่งนี้ขึ้นมา คงจะไม่มีประโยชน์อะไรที่เราจะมานั่งโทษกัน ว่าใครผิด...
          มาถึงวันนี้ยังไม่สายเกินไปที่บรรดา พ่อแม่ ผู้ปกครอง จะหันกลับไปให้ความสนใจในธรรมชาติของเด็กๆ ว่า แม้เขาจะได้รับความสะดวกสบายในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ วิธีการเลี้ยงเด็กตามแบบไทยๆ ก็ยังไม่เป็นเรื่องที่ล้าสมัย หากผู้ใหญ่รู้จักปรับวิธีการให้เหมาะสมกับยุคที่เปลี่ยนไป


ที่มา http://www.m-culture.go.th/detail_page.php?sub_id=1128

สังคมไทยกำลังถอยกลับ

ปัญหาสังคมไทยในปัจจุบัน

ปัญหาสังคม หมายถึง สภาวะการณ์ที่มีผลกระทบกระเทือนต่อคนจำนวนมากในสังคมและเห็นว่าควรร่วมกันแก้ปัญหานั้นให้ดีขึ้น
      สาเหตุของปัญหาสังคม
          1. เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การเปลี่ยนเป็นสังคมเมือง การเปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม การเป็นค่านิยมใหม่ ๆ ทำให้เกิดปัญหาสังคมขึ้น
          2. เกิดจากสมาชิกในสังคมบางกลุ่มไม่ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่สังคมวางไว้ เช่น เกิดความขัดแย้งระหว่างกฎเกณฑ์กับความมุ่งหมาย เกิดความล้มเหลวของกระบวนการขัดเกลาทางสังคมหรือสมาชิกบางกลุ่มที่สร้างความเดือดร้อนให้แก่สังคม ทำให้เกิดการขาดระเบียบและเป็นปัญหาทางสังคมขึ้น
          3. เกิดจากการที่กลุ่มสังคมต่าง ๆ มีความคิดเห็นความต้องการ และผลประโยชน์ขัดกัน ไม่ยอมร่วมมือแก้ไขปัญหาของสังคม เช่น การเอาเปรียบลูกจ้าง เป็นต้น
      ปัญหาของสังคมไทย
          1. ปัญหาความยากจน มีสาเหตุเกิดจาก
                    1. การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร
                    2. การขาดการศึกษา ทำให้มีรายได้ต่ำ
                    3. ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม
                    4. ลักษณะอาชีพมีรายได้ไม่แน่นอนสม่ำเสมอ เช่นกรรมกร รับจ้าง
                    5. มีบุตรมากเกินไป รายได้ไม่พอกับรายจ่าย
                    6. มีลักษณะนิสัยเฉื่อยชาและเกียจคร้าน ไม่ชอบทำงาน
              การแก้ไขปัญหา :
                    1. พัฒนาเศรษฐกิจ เช่น กระจายรายได้ การสร้างงานในชนบท ขยายการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น
                    2. พัฒนาสังคม เช่น ขยายการศึกษาเพิ่มมากขึ้น บริการฝึกอาชีพให้กับประชาชน
                    3. พัฒนาคุณภาพของประชากร
           2. ปัญหาอาชญากรรม มีสาเหตุเกิดจาก
                    1. การขาดความอบอุ่นทางจิตใจ
                    2. การเปลี่ยนแปลงทางสังคมมากขึ้น
                    3. สิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจและสังคม
                    4. มีค่านิยมในทางที่ผิด
               การแก้ไขปัญหา
                    1. รัฐและหน่วยงานรับผิดชอบควรช่วยกันแก้ไขปัญหา
                    2. ปลูกฝังและพัฒนาจิตใจของสมาชิกในสังคมให้มีคุณธรรม
                    3. อบรมสั่งสอนและให้ความรัก ความอบอุ่น และรวมถึงให้ความร่วมมือกับหน่วยงานและเจ้าหน้าที่
            3.ปัญหายาเสพย์ติด มีสาเหตุเกิดจาก
                    1. ถูกชักชวนให้ทดลอง
                    2. ประกอบอาชีพบางอย่างที่ต้องการเพิ่มงานมากขึ้น
                    3. ความอยากรู้และอยากทดลอง
                    4. สภาวะแวดล้อมไม่ดี
               การแก้ไขปัญหา
                    1. ให้ความรู้เรื่องโทษของยาเสพย์ติด
                    2. ป้องกันและปราบปรามผู้ซื้อและผู้ขายอย่างเด็ดขาด
                    3. การร่วมมือสอดส่องดูแลความประพฤติของเด็กอย่างใกล้ชิด
                    4. จัดให้มีการบำบัดและรักษาผู้ติดยาเสพย์ติด
            4. ปัญหาโรคเอดส์ สาเหตุเกิดจาก
                    1. ปัญหายาเสพย์ติด
                    2. ขาดความรู้ในการป้องกันโรค
                    3. เกิดจากความยากจนและไม่เพียงพอ
               การแก้ไขปัญหา
                    1. ให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการโรคเอดส์ให้กับประชาชน
                    2. ไม่เสพย์สิ่งเสพย์ติด โดยเฉพาะการใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
                    3. ระมัดระวังการติดเชื้อโดยทางสายเลือด
            5. ปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น อากาศเป็นพิษ น้ำเน่าเสีย เสียงเป็นพิษ ขยะมูลฝอย เป็นต้น มีสาเหตุเกิดจาก
                    1. การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรอย่างรวดเร็ว
                    2. เกิดจากความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
                    3. การขยายตัวทางด้านอุตสาหกรรม
                    4. ขาดความรับผิดชอบ และระเบียบวินัยของสมาชิกในสังคม
               การแก้ไขปัญหา
                    1. ให้การศึกษาและคำแนะนำต่าง ๆ แก่สมาชิกในสังคม
                    2. วางนโยบายการป้องกันการทำลายสิ่งแวดล้อม
                    3. ลงโทษผู้ฝ่าฝืนและกระทำผิดอย่างจริงจัง

แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมไทย
      1. รัฐบาลควรออกระเบียบ กฎเกณฑ์ และกฎหมาย เพื่อกำหนดมาตรการการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิดอย่างจริงจังและแน่นอน                    
      2. วางแผนและนโยบายการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยร่วมมือกับภาคเอกชนเพื่อรณรงค์และอนุรักษ์
      3. ให้การศึกษาแก่สมาชิกในสังคมเพื่อให้เกิดความรู้และความเข้าใจในปัญหาต่าง ๆ ให้มากขึ้น
      4. ปรับปรุงและพัฒนาสังคมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
      5. พัฒนาเศรษฐกิจทั้งด้านเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการบริการให้ดีขึ้น
      6. พัฒนาสังคม สร้างค่านิยม และรณรงค์ให้ประชาชนร่วมมือในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
ที่มา http://www.lks.ac.th/kukiat/student/betterroyal/social/7.html